รีวิว KTM 390 RC, Duke 2 ส้มจี๊ด สุดแสบในพิกัดต่ำกว่า 500cc

0

หลังจากมีข่าวการปรับโครงสร้างราคาใหม่ของ KTM RC และ Duke ในตระกูล 200 และ 390 (คลิ๊กอ่านได้ที่นี่) เนื่องจากทาง KTM ได้ย้ายฐานการผลิตจากอินเดีย มายังมาเลเซีย จึงส่งผลต่อโครงสร้างภาษีใหม่ เป็นสาเหตุให้ทาง Kunka Corporation ได้มีการปรับลดราคาลงตามกลไกตลาด
ทาง MotoRival ของเราซึ่งได้เกาะติดในประเด็นดังกล่าวไปแล้ว จึงไม่พลาดที่จะนำรถ KTM 390 Series ในโมเดล KTM 390 Duke, RC ทั้ง 2 คัน มารีวิวร่วมกันในครั้งนี้ ให้แฟนๆ ผู้สนใจรับชมเนื้อหากัน

รีวิว-KTM-390-RC-Duke_37
KTM RC 390 ถือเป็นรถสปอร์ตขนาดเล็ก ที่มีดีไซน์อันโดดเด่นสะดุดตา จากไฟหน้าโปรเจ็คเตอร์คู่ เบาะนั่งท้ายที่ทำจากโฟมขึ้นรูปทั้งชิ้นดูคล้ายตูดมดขนาดใหญ่ ซึ่งรองรับผู้ซ้อนที่ขนาดตัวและน้ำหนักมากๆ ได้อย่างสบาย ไฟท้ายแบบ LED และ RC 390 ได้ดีไซน์มารองรับผู้ชื่นชอบท้ายโล่ง เพียงแค่ถอดน๊อตเพียงไม่กี่ตัวเท่านั้น ชุดบังโคลนหลังก็จะหลุดออกได้อย่างง่ายดาย ได้ท้ายโล่งแบบสมใจ กระจกมองข้างที่มีไฟเลี้ยวในตัว เสียดายที่วินด์ชิลด์หน้า ดูสั้นไปหน่อย ยางเลือกใช้ Metzeler Sportec M5 ยางหลังใหญ่ 150 มม. และ 110 มม. ด้านหน้า
รีวิว-KTM-390-RC-Duke_24
สำหรับท่านั่งนั้นถูกปรับให้คล้ายกับรถ Supersport แม้แฮนด์จะไม่ต่ำเท่า แต่ด้วยความที่เบาะสูงถึง 820 มม. (มันสูงกว่า รถ Supersport ที่ผู้เขียนเคยลองขี่อย่าง MV Agusta F3 675 ถึง 15 มม. เลยทีเดียว) จึงทำให้ท่านั่งนั้นดูจะต้องก้มหลังงอก้นกันแทบจะเทียบเท่ารถ Supersport เลย
รีวิว-KTM-390-RC-Duke_23
จุดที่น่าประทับใจมาก คือ กระจกมองข้างที่สามารถพับใช้งานได้อย่างง่ายดาย เพียงมือเดียว ทำให้สะดวก เมื่อรถติดก็สามารถบิดพับเข้าหากันได้ทันทีสามารถขี่ซอกแซกการจราจรได้อย่างสบาย เนื่องจากตำแหน่งแฮนด์ที่ต่ำ
แต่ปลอกมือ แบบหนามดูจะเป็นอะไรที่อาจจะขัดกับรถทรง Sport แบบนี้ไปเสียหน่อยขนาด Grip ถือว่าใหญ่กระชับมือทีเดียว หากเทียบกับรถญี่ปุ่นคลาส 250-300cc
รีวิว-KTM-390-RC-Duke_51
บนหน้าปัด เป็นเรือนไมล์ดิจิตอลเช่นเดียวกับ Duke ความเร็วเป็นเลขดิจิตอล รอบเครื่องยนต์เป็นแถบในแนวนอนด้านบน มีไฟบอกเกียร์เลข 0-6 เซ็ททริป A,B ได้ มีแสดงผลอัตราสิ้นเปลือง พร้อมเซ็นเซอร์ขาตั้งเตือน Side Stand Down ปุ่มกดทางด้านซ้าย ค่อนข้างแข็งกดลำบากไปหน้อย หากใครไม่รู้ที่จริงมันมีปุ่มกดปิด-เปิด ABS ด้วย คือ ปุ่มที่อยู่ด้านล่าง Set ไม่มีระบุอักษรใดๆ

รีวิว-KTM-390-RC-Duke_38
ขณะที่ KTM Duke 390 มากับรูปทรง Naked Street ที่เหมาะกับการขับขี่ใช้งานในเมือง ขณะที่รายละเอียดอย่างเบรก, ล้อ, โช้คอัพ ก็ใช้เหมือนกันกับ RC สไตล์รูปลักษณ์ภายนอกก็ดูเท่ไม่ซ้ำใคร แต่มีจุดหนึ่งที่น่าติ นั่นคือบริเวณคอท่อด้านซ้าย ถูกทำให้บุบเว้าเข้าไปเพื่อหลบเฟรมถักนี้พ้น จึงให้ความรู้สึกเหมือนจะเก็บงานไม่เรียบร้อยในจุดนี้
รีวิว-KTM-390-RC-Duke_31
สำหรับท่านั่ง เบาะที่มีความสูง 800mm เมื่อเทียบกับรถน้ำหนักตัวเพียง 139 กก. นั้นไม่ได้ดูเตี้ยเลยสักนิด ขณะที่แฮนด์ Fat Bar ที่ดูกว้าง ปลายแฮนด์ที่เชิดขึ้น ทำให้ท่านั่งจะดูกางแขนแบะศอกคล้ายท่าขี่รถ Supermoto เลยก็ว่าได้ ขณะที่เบาะนั่งซ้อนท้ายนั้น ดูจะทำมาจำกัดไซส์ผู้ซ้อนไปเสียหน่อย
Duke 390 คันทดสอบนี้ ติดตั้งการ์ดแฮนด์มาให้ด้วย ซึ่งนั่นทำให้เจ้า Duke นี้ดูจะมุดการจราจรได้ค่อนข้างลำบากทีเดียว เมือเทียบกับ RC ที่ผ่านฉลุยแทบทุกหูกระจกรถยนต์
แผงหน้าปัดจะเป็นเช่นเดียวกับ RC ซึ่งจะไม่ขอกล่าวซ้ำ

รีวิว-KTM-390-RC-Duke_27
เครื่องยนต์ของ KTM 390 Series ใช้เครื่องยนต์ 1 สูบ ความจุ 373.2cc ระบายความร้อนด้วยน้ำ มีกำลัง 43 แรงม้า@9,500rpm และ แรงบิด 35Nm@7250rpm
รีวิว-KTM-390-RC-Duke_42
เริ่มต้นบิดกุญแจสตาร์ทเครื่องกันเลย สิ่งแรกที่ดูขัดใจเรานั่นก็คือ เสียงท่อที่ดูแปล่งๆ ชอบกล เสียงดังออกเป็นลูกๆ จริงแต่ดูไม่ค่อยจะไพเราะนัก แต่นั่นคงไม่ใช่ประเด็นสำคัญที่เราจะพูด เพราะสมรรถนะต่างหากที่มันน่าสนใจกว่า
รีวิว-KTM-390-RC-Duke_09
แน่นอนว่าการออกตัวที่รอบต่ำของเครื่องยนต์กระบอกสูบเดี่ยวที่ลูกสูบมีขนาดใหญ่ การขี่ที่ความเร็วรอบต่ำ จะมีอาการสำลัก ที่รอบต่ำกว่า 3,000rpm ซึ่งอาจทำให้เวลาคลานที่ความเร็วต่ำในเมืองนั้นอาจน่ารำคาญอยู่บ้าง เพราะต้องเลียคลัชไว้ ร่วมกับการเปิดคันเร่งช่วยในบางจังหวะ นอกจากนี้ที่รอบเครื่องยนต์ต่ำกว่า 4,000rpm นั้นดูจะยังไม่มีทอร์ค ให้เรียกใช้เท่าที่ควร แต่หากมือหนักเปิดคันเร่งพรวดเดียวในช่วง 4,500rpm+ ไปจนถึง 10,000rpm ถือว่าแรงเร้าใจเทียบชั้นได้กับรถตระกูล Honda 500cc ที่เป็นเครื่องยนต์ 2 สูบ เลยล่ะ และเนื่องจาก KTM 390 Series นั้นมีน้ำหนักที่เบา จึงทำให้อัตราเร่งน่าประทับใจมาก หากขี่แบบเน้นอัตราเร่งที่ต่อเนื่อง การสับเกียร์ที่รอบเครื่องราว 7,000rpm ที่เป็น Peak Torque (รีดแรงบิดสูงสุด) ก็ถือว่าเพียงพอแล้วไม่จำเป็นต้องลากกันถึงระดับ 10,000rpm เพราะสูบเดี่ยว การขี่ที่รอบสูงระดับ 9,000rpm นั้นดูจะสั่นไหวกันพอสมควร
เราต้องขอบอกว่า เครื่องยนต์ตัวนี้ มันร้อนเอาเรื่องเหมือนกัน ยิ่งในโฉมเปลือย Duke มอบไอร้อนเข้าสู่ขาซ้ายผ่านโครงถักเต็มๆ ที่จริงแล้ว RC ที่มีแฟริ่งอาจจะดูร้อนน้อยกว่า แต่จะว่าไป เมื่อพัดลมหม้อน้ำทำงานด้วยแล้วมันก็ร้อนแทบไม่ต่างกันเท่าใดเลย

รีวิว-KTM-390-RC-Duke_41
*ข้อสังเกต* KTM RC 390 คันที่เราทดสอบนั้น ดูจะพบอาการสั่นเมื่อขี่ที่รอบเครื่องยนต์ต่ำมากกว่า Duke 390 เนื่องจากในรถคันทดสอบ RC นั้นยังเป็นรถที่เพิ่งรันอิน ไปประมาณ 1,000 กม. เท่านั้น และ Duke 390 ดูจะเข้าเกียร์ได้ง่ายนิ่มกว่ามาก แต่ดูจะหาเกียร์ว่างได้ยากกว่าด้วย

รีวิว-KTM-390-RC-Duke_56
ระบบกันสะเทือน ต้องถือว่ามันเป็นจุดขายของ KTM 390 Series เลย โช้คหน้า Inverted Fork ขนาดแกน 43 มม. ด้านหลัง Monoshock จาก WP ทั้งคู่
รีวิว-KTM-390-RC-Duke_19
ในการขี่ RC390 จะสัมผัสได้ถึงสมรรถนะอันยอดเยี่ยม แม้ว่าจะทำความเร็วระดับ 170 กม./ชม.+ แฮนด์ลิ่งของ RC390 มันยังคงประสิทธิภาพดีไร้ที่ตินิ่งแทบไม่มีอาการหวาดเสียวให้เห็น ซึ่งได้อานิสงค์มาจาก แฮนด์แบบยึดแผงคอทั้งชิ้น ตำแหน่งต่ำเกือบจะเท่า Supersport ขณะที่อาการของช่วงล่างนั้นถือว่าแข็งตามแบบฉบับสไตล์รถสปอร์ตเหมาะสมดีกับรูปลักษณ์รถ
รีวิว-KTM-390-RC-Duke_13
สำหรับโมเดล Duke390 ฟีลลิ่งการขับขี่จะให้ความรู้สึกเหมือนแนวรถ Motard มากกว่า Streetbike ซึ่งดูจะแข็งไปหน่อยกับการเป็นรถ Naked Street Bike แต่โดยรวมมันยังแอบแฝงความรู้สึกโดยรวมที่นุ่มกว่า RC แต่ด้วยรูปทรงรถเปลือยพบว่าอาการ หัวไว หน้าส่าย นั้นมีให้สัมผัสชัดเจนตั้งแต่ความเร็ว 130 กม./ชม.ขึ้นไป ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากท่าทางการนั่งที่ต้องแบะกางแขนออก ซึ่งยิ่งทำให้โต้ลมมากขึ้น

รีวิว-KTM-390-RC-Duke_46
ด้านระบบเบรก เป็นแบบดิสก์เบรกหน้าเดี่ยวขนาดจาน 300 มม. คาลิปเปอร์ 4 pot และจานหลังเดี่ยวขนาด 230 มม. คาลิปเปอร์ 1 pot จาก bybre (by brembo) ซึ่งเป็นเบรก OEM ของ Brembo ที่ทำมาสำหรับรถขนาดเล็ก
รีวิว-KTM-390-RC-Duke_44
ในด้านการชะลอความเร็วหยุดรถนั้น ถือว่าใช้ได้ เมื่อเทียบกับไซส์เครื่องยนต์ 390 ที่มีความแรงเทียบชั้นตระกูล 500cc ฟีลลิ่งการแตะเบรกนั้นดูจะทื่อๆ ไปเสียหน่อย ร่วมกับระบบ ABS จึงทำให้ความรู้สึกในการกำเบรกนั้นอาจยังไม่แม่นยำนัก ซึ่งถ้าให้ดีปิด ABS จะช่วยให้ควบคุมระยะได้แม่นยิ่งขึ้น

รีวิว-KTM-390-RC-Duke_43
สรุป รีวิว KTM 390 RC, Duke ทั้ง 2 โมเดล มันมีจุดขายที่รูปลักษณ์อันโดดเด่น แปลกตาไม่เหมือนใคร ขึ้นกับผู้ขี่จะชื่นชอบในสไตล์ไหน RC ถือเป็นโมเดลใหม่กว่า ซึ่งอุปกรณ์ติดตั้งดูจะทันสมัยมากกว่า ขณะที่ Duke 390 ได้รางวัลการันตี Best Lightweight Streetbike จาก CycleWorld 2015 นี้ด้วย
Ok ความจุมันดูไม่เยอะรูปร่างไม่ใหญ่นัก ดูไม่น่าเกรงขาม แต่หากใครประมาท KTM 390 Series ล่ะก็ โดนแซงสวนเอาได้ แต่ข้อเสียของมันเลยคือ มันดูจะไม่ค่อยเหมาะกับการขี่ที่รอบต่ำสักเท่าใดนัก
รีวิว-KTM-390-RC-Duke_02
สำหรับราคาตอนนี้ที่ปรับลดลงเนื่องมาจากโครงสร้างทางภาษี ที่ลดลงถึง 1 แสน ในตัว Duke 390 เหลือ 2.39 แสนบาท
ขณะที่ RC390 ที่ราคาเดิม 2.98 แสนบาท ปรับลงมาเล็กน้อยเหลือ 2.59 แสนบาท
ถ้าหากคุณรักในดีไซน์ และแบรนด์ออสเตรียแบรนด์นี้ ไม่เน้นซึ่งความแรงจากความจุมากนัก ราคาดังกล่าวถือเป็นการมอบโอกาสในการเป็นเจ้าของได้ง่ายยิ่งขึ้น หรือถ้าไม่ซีเรียสเรื่องสมรรถนะจริงๆ ชื่นชอบแบรนด์กับรูปลักษณ์เท่านั้น เราขอแนะนำ KTM 200 Series ซึ่ง Duke 200 อยู่ที่ 1.49 แสนบาท และ RC 200 ที่ 1.69 แสนบาท

รีวิว-KTM-390-RC-Duke_06
ขอขอบคุณ บริษัท คุณค่า คอร์ปอเรชั่น สำหรับรถทดสอบ KTM 390 Series ทั้ง 2 รุ่น
ภณ เพียรทนงกิจ Test Rider & Photographer
จิระศักดิ์ ติ๊บอ้าย Co Rider & Photographer

อ่านข่าวสาร KTM อื่นๆ เพิ่มเติมได้ที่นี่
อ่านรีวิวรถ เพิ่มเติมได้ที่นี่

เพื่อนๆ Bikers สามารถติดตามข่าวสารวงการล้อ ได้ทางแฟนเพจ MotoRival ของเราครับ

KTM 390 Series

7.5 Good

KTM RC390, Duke390 รถ under 500cc ตัวจี๊ดสมรรถนะอันร้อนแรงของค่ายส้ม แม้จะขี่กระตุกๆ ไปบ้างที่รอบเครื่องต่ำ แต่ถือว่าเป็นรถที่ขี่สนุกและน้ำหนักที่ทำให้คล่องตัวควบคุมง่าย และราคาที่จับต้องได้ง่ายขึ้น ผู้มอง Entry Bikes ไม่ควรพลาด

  • 7.5
  • User Ratings (4 Votes) 8.6
Share.

About Author

Background EXP in Automotive journalists more than 10 Years Writer & Test Driver @Pantip Garage 2018-Present @9carthai 2015- 2017 @Torque & VIPStyle Magazine 2015 @Autospinn 2012-2015 @GTmania.tv 2009-2010

error: Content is protected !!