ไขข้อข้องใจ หมวกกันน๊อค ที่มีแว่นกันแดดด้านใน ถูกหรือผิด?

0

หลังจากมีเหตุให้ Drama กันบนโลกออนไลน์มากมาย เมื่อมีผู้สวมหมวกกันน๊อคแบรนด์หนึ่ง (มี มอก.) โดยหมวกใบนั้นมีแว่นกันแดดด้านใน (Sun Visor) และถูกตำรวจจับ เพราะผิดกฎหมายเนื่องจาก ตำรวจตีความว่าเป็นส่วนหนึ่งของบังลมเพราะติดตั้งมากับหมวกกันน๊อค ซึ่งต้องเป็นวัตถุโปร่งใส

ในวันนี้ MotoRival ของเราจะมาช่วยไขข้อข้องใจ โดยตีความตามหลัก นิติศาสตร์ เกี่ยวกับเรื่องนี้กัน

ก่อนอื่นเราต้องมาทำความเข้าใจกับ พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 122 กันก่อนโดยมีใจความดังนี้ ผู้ขับขี่และผู้โดยสารรถจักรยานยนต์ต้องสวมหมวกนิรภัยเพื่อป้องกันอันตรายในขณะขับขี่และโดยสารรถจักรยานยนต์ โดยลักษณะของหมวกนิรภัยที่ใช้นั้นต้องเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง ฉบับที่ 14 (พ.ศ.2535)

tis1

โดยความในกฎกระทรวงดังกล่าว ได้กำหนดแบบของหมวกนิรภัยไว้ 3 แบบ ได้แก่
1. หมวกนิรภัยแบบปิดเต็มหน้า
2. หมวกนิรภัยแบบเต็มใบ
3. หมวกนิรภัยแบบครึ่งใบ
ทั้ง 3 แบบ จะมีหรือไม่มีบังลมก็ได้ ในกรณีที่มีบังลม บังลมต้องทำจากวัสดุโปร่งใสและไม่มีสี

tis2

ซึ่งสอดคล้องกับข้อกำหนดของ มอก. 369-2539

ข้อ 3.1 หมวกนิรภัยแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ คือ

3.1.1 ครึ่งใบ
half

3.1.2 เต็มใบ
Bell

3.1.3 ปิดเต็มหน้า
shoei_helmets_xtwelve

และข้อ 5.3.7 ในกรณีที่มีบังลม บริเวณมองผ่านต้องทำด้วยวัสดุโปร่งใสและไม่มีสี

ขอขยายความคำว่า “บังลม” ตาม มอก. 369-2539 ข้อ 2.12 บอกว่า บังลม (windshield) หมายถึง ส่วนที่ใช้กันลมเข้าตาผู้สวมใส่

ซึ่งข้อนี้มีความหมายชัดเจนว่า หมวกนิรภัย ไม่ว่าจะแบบใดใน 3 รุปแบบข้างต้น หากมีบังลมหน้า ต้องโปร่งใส ไม่มีสี ดังนั้น หากเป็น windshield สีปรอท หรือ สีดำ จะผิดกฎหมายโดยชัดเจน

แต่ลองมาตีความเพิ่มเติมกรณีของแว่นกันแดด (Sun Visor) ที่ถูกติดตั้งมาพร้อมกับหมวกกันน๊อค และมีปุ่มให้กดเพื่อเลื่อนแว่นกันแดดลงมาได้

กรณีที่ 1.ถ้ามองว่า แว่นกันแดด (Sun Visor) ถือเป็นส่วนหนึ่งที่ถูกติดตั้งเพิ่มเติมเข้ามา เพื่อใช้เฉพาะในการป้องกันแสงแดด ไม่ได้หมายถึง ส่วนที่ใช้กันลมเข้าตาผู้สวมใส่ ดังนั้นถ้าตำรวจตีความตามกรณีนี้ ย่อมไม่ผิดกฎหมายแน่นอน !

กรณีที่ 2. หากตำรวจตีความว่าแว่นกันแดด (Sun Visor) ถือเป็นส่วนหนึ่งที่ติดตั้งมากับหมวกกันน๊อค และมองว่าตัวแว่นกันแดด (Sun Visor) ที่เมื่อเลื่อนปิดลงมาได้ เปรียบเสมือนบังลมชิ้นหนึ่งของหมวกกันน๊อค เพราะตีความหมายถึง ส่วนที่ใช้กันลมเข้าตาผู้สวมใส่ ถ้าตีความเช่นนี้ มันก็ผิดสิครับ !

แต่จุดตลกอยู่ที่ว่า หากเราสวมแว่นตากันแดด (Sunglasses) ซึ่งไม่ใช่ส่วนหนึ่งของตัวหมวกกันน๊อค ถือว่าไม่ผิด แล้วจุดประสงค์ของการใส่แว่นกันแดด หรือ หมวกที่ติดตั้งแว่นกันแดด (Sun Visor) ทำมาเพื่ออะไร? เพื่อกันแสงแดดทำลายดวงตาไม่ใช่หรือ? (มันคงไม่ใช่เอามาไว้บังลมหรอกนะ) ดังนั้น การที่ตำรวจตอบมาเช่นนี้ จึงดูเหมือนเป็นการเล่นกับตัวหนังสือบนกฎหมายที่ดิ้นได้ (โดยส่วนมากจะตีความว่าผิดกฎหมาย)

โดยเคสนี้นั้นอาจจะต้องให้ทางศาลช่วยตีความหมายของข้อกฎหมายที่คลุมเครือ เนื่องจากมันเป็น พรบ.ที่บัญญัติมาตั้งแต่ปี 2522 เมื่อ 36 ปีมาแล้ว ซึ่งยุคนั้นยังไม่มีหมวกกันน๊อคที่มีแว่นกันแดด (Sun Visor) ในตัว

และคิดต่อเนื่องว่า หากผิดกฎหมายจริง หมวกดังกล่าว หลายยี่ห้อที่ได้รับ มอก. นั้นผ่านการตรวจ มอก.มาได้เช่นไร ในเมื่อมีข้อกำหนดในกฎ มอก.ที่เด่นชัดขนาดนี้? และถ้าผิดจริง ควรที่จะต้องเป็นการฟ้องร้องทางข้อกฎหมายดังกล่าวกับทางบริษัทผู้ผลิตหรือไม่ เพราะผู้บริโภคย่อมเข้าใจว่า ผลิตภัณฑ์ ที่ถูกนำมาจำหน่ายนั้น สามารถใช้ได้ถูกต้องตามกฎหมายแล้ว

ทาง MotoRival เราเชื่อว่าอีกไม่นาน อาจจะมีคำตอบจากทางศาลที่ช่วยพิจารณา ตีความข้อกฎหมายที่เก่าแก่กว่า 36 ปี ในเร็วๆนี้ ซึ่งทางเราจะคอยเกาะติด ประเด็นนี้อย่างใกล้ชิด หากมีอัพเดทใดๆ จะนำมาเสนอ แฟนๆ โดยเร็ว

Refference

ข้อกฎหมาย
พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 ม.122 ประกอบกับ กฎกระทรวง ฉบับที่ ฉบับที่ 14 (พ.ศ. 2535) ออกตามความใน พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522

การดำเนินการให้คำปรึกษา
มาตรา ๑๒๒ ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์และคนโดยสารรถจักรยานยนต์ต้องสวมหมวกที่จัดทำขึ้นโดยเฉพาะเพื่อป้องกันอันตรายในขณะขับขี่และโดยสารรถจักรยานยนต์
ห้ามมิให้ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ตามวรรคหนึ่งขับขี่รถจักรยานยนต์ในขณะที่คนโดยสารรถจักรยานยนต์มิได้สวมหมวกที่จัดทำขึ้นโดยเฉพาะเพื่อป้องกันอันตราย
ลักษณะและวิธีการใช้หมวกเพื่อป้องกันอันตรายตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวงความในวรรคหนึ่งมิให้ใช้บังคับแก่ภิกษุ สามเณร นักพรต นักบวช หรือผู้นับถือลัทธิศาสนาอื่นที่ใช้ผ้าหรือสิ่งอื่นโพกศีรษะตามประเพณีนิยมนั้น หรือบุคคลใดที่กำหนดในกฎกระทรวงกฎกระทรวง ฉบับที่ ฉบับที่ 14 (พ.ศ. 2535) ออกตามความใน พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 โดยที่เป็นการสมควรกำหนดให้ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์และคนโดยสารรถจักรยานยนต์สวมหมวกในขณะขับขี่และโดยสารรถจักรยานยนต์ และโดยที่มาตรา 122 วรรคสาม แห่ง พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 ได้บัญญัติให้ลักษณะและวิธีการใช้หมวกเพื่อป้องกันอันตรายเป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง จึงได้มีกฎกระทรวง ฉบับที่ 14 (พ.ศ. 2535) ออกตามความใน พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มีข้อที่เกี่ยวกับรถจักรยาน ดังนี้
ข้อ 1 ในกฎกระทรวงนี้
“หมวกนิรภัย” หมายความว่า หมวกที่จัดทำขึ้นโดยเฉพาะเพื่อป้องกันอันตรายในขณะขับขี่และโดยสารรถจักรยานยนตร์
“หมวกนิรภัยแบบปิดเต็มหน้า หมายความว่า หมวกนิรภัยที่เปลือกหมวกเป็นรูปทรงกลมปิดด้านข้าง ด้านหลัง ขากรรไกรและคาง ในกรณีที่มีบังลม บังลมต้องทำจากวัสดุโปร่งใสและไม่มีสี
“หมวกนิรภัยแบบเต็มใบ” หมายความว่า หมวกนิรภัยที่เปลือกหมวกเป็นรูปทรงกลมปิดด้านข้างและด้านหลังเสมอแนวขากรรไกรและต้นคอด้านหลัง ด้านหน้าเปิดเหนือคิ้วลงมาตลอดถึงปลายคาง ในกรณีที่มีบังลม บังลมต้องทำจากวัสดุโปร่งใสและไม่มีสี
“หมวกนิรภัยแบบครึ่งใบ” หมายความว่า หมวกนิรภัยที่เปลือกหมวกเป็นรูปครึ่งทรงกลมปิดด้านข้างและด้านหลังเสมอระดับหู ในกรณีที่มีบังลม บังลมต้องทำจากวัสดุโปร่งใสและไม่มีสี
ข้อ 2 หมวกนิรภัยให้ใช้ได้ 3 แบบ คือ หมวกนิรภัยแบบปิดเต็มหน้า หมวกนิรภัยแบบเต็มใบ และหมวกนิรภัยแบบครึ่งใบ
ข้อ 3 ในขณะขับขี่หรือโดยสารรถจักรยานยนตร์ ผู้ขับขี่และคนโดยสารต้องสวมหมวกนิรภัย โดยจะต้องรัดคางด้วยสายรัดคาง หรือเข็มขัดรัดคางให้แน่นพอที่จะป้องกันมิให้หมวกนิรภัยหลุดจากศีรษะได้หากเกิดอุบัติเหตุ
ข้อมูลจาก “โครงการการศึกษากฎหมายเกี่ยวกับการใช้จักรยาน” ของ TCC & สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

ดังนั้น ในกรณีของผู้ร้องนั้นย่อมเป็นไปตามกฎหมาย พ.ร.บ. จราจรทางบก พ.ศ. 2522 ประกอบกับ กฎกระทรวง ฉบับที่ 14 (พ.ศ. 2535) ออกตามความใน พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522  ซึ่งกำหนดให้ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์และคนโดยสารรถจักรยานยนต์ต้องสวมหมวกที่จัดทำขึ้นโดยเฉพาะเพื่อป้องกันอันตรายในขณะขับขี่และโดยสารรถจักรยานยนต์ ประกอบกับกฎกระทรวงฉบับที่ ๑๔ (พ.ศ. ๒๕๓๕)  ที่กำหนดให้บังลมต้องโปร่งในใสและไม่มีสี
และกรณีการเปรียบเทียบปรับ ตาม พ.ร.บ. จราจรทางบก พ.ศ. 2522 ม.122 ประกอบกับ กฎกระทรวง ฉบับที่ 14 (พ.ศ. 2535) ออกตามความใน พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522
ข้อหา ฐานความผิด บทมาตรา และอัตราโทษ ตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 (แก้ไขเพิ่มเติมถึง พ.ศ.2538)และการเปรียบเทียบปรับผู้กระทำผิด นั้นให้เป็นไปตามข้อกำหนดของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (กรมตำรวจ) ฉบับที่ 3 ลงวันที่ 9 ก.ค. 40 และเพิ่มเติมฉบับที่ 4 ลงวันที่ 3 ธ.ค. 2540 ตามลำดับ คือ ลำดับที่ 52  ขับขี่รถจักรยานยนต์ไม่สวมหมวกนิรภัย (มิให้ใช้บังคับแก่ภิกษุสามเณร นักพรต นักบวช ผู้นับถือลัทธิศาสนาที่ใช้ผ้าโพกศีรษะตามประเพณีนิยม ปรับไม่เกิน 500 บาท

กฏหมายพิเศษพ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522

Reference

ว่าตามข้อกำหนดของ มอก.369-2539

ข้อ 3.1 หมวกนิรภัยแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ คือ
3.1.1 ครึ่งใบ,
3.1.2 เต็มใบ
3.1.3 ปิดเต็มหน้า

5.3.4 หมวกนิรภัยที่ประกอบเสร็จต้องมีมวลไม่เกิน 2 กิโลกรัม
5.3.7 ในกรณีที่มีบังลม บริเวณมองผ่านต้องทำด้วยวัสดุโปร่งใสและไม่มีสี

ข้อนี้มีความหมายชัดเจนว่า หมวกที่มีวินชิลด์หน้า ต้องเป็นสีใสเท่านั้น ชิลสีปรอท หรือ ดำ น่าจะผิดกฎหมายโดยชัดเจน
ดังนั้นในข้อนี้ บอกเลยว่า หมวกกันน๊อคที่มีแว่นกันแดดด้านใน ถือว่าไม่ผิด มอก.!

Share.

About Author

error: Content is protected !!