มีข้อมูลอัพเดทล่าสุดเข้ามาว่า เจ้า Suzuki Hayabusa Gen 3 ที่กำลังจะเปิดตัวในเวลาอันใกล้ นอกจากการเพิ่มกำลังของเครื่องยนต์โดยการ พ่วงระบบอัดอากาศหรือยัดระบบวาล์วแปรผันแล้ว ทาง Suzuki ยังเลือกที่จะ ทำการลดน้ำหนักครั้งใหญ่ เพื่อให้มันเป็น “เหยี่ยว(อ้วน)” ที่พลิ้วและปราดเปรียวมากขึ้น จากสิทธิบัตรล่าสุดที่เราจะนำมาวิเคราะห์ให้ได้รับชมกันในครั้งนี้
เนื้อหาหลักๆในสิทธิบัตรใบนี้กล่าวถึงตัวเมนเฟรมหรือโครงรถโดยเฉพาะ ซึ่งเมื่อลองสังเกตุในภาพจะเห็นว่าตัวเฟรมจะถูกแบ่งออกเป็น 3 ชิ้นส่วนหลักๆ นั่นคือเลข 3, 4 และ 5
เริ่มจากชิ้นส่วนเลข 3 นั่นคือส่วนหน้าสุดของเฟรม ซึ่งเป็นจุดที่ต้องติดตั้งชุดระบบกันสะเทือนด้านหน้า โดยจะออกแบบให้เป็นแบบ Cross-Bracing หรือทรงกากบาท ไม่ใช่ทรงตัน(จะสังเกตุว่ามีช่องว่างเล็กน้อยตรงกลาง) เพื่อความคงเบา แต่ยังสามารถรับแรงกระทำจากโช๊คหน้าได้ดี
ในส่วนของชิ้นส่วนเลข 4 ถูกผลิตขึ้นจากเหล็กหล่อทนแรงบิดสูง ซึ่งจะเป็นส่วนที่ออกแบบให้แข็งแรงเป็นพิเศษกว่าส่วนอื่น เพราะต้องทำหน้าที่เป็นจุดยึดให้กับตัวเครื่อง แน่นอนว่าแรงสั่นที่เกิดจากเครื่องยนต์บวกกับน้ำหนักของมันนั้นไม่ใช่น้อยๆเลย และในขณะเดียวกันยังต้องเป็นตัวเชื่อมระหว่างชุดเฟรมด้านหน้า (เลข 3) และชุดเฟรมด้านหลัง (เลข 5) ซึ่งถ้ามีแรงที่ถูกส่งมาจากสองชิ้นส่วนนี้ ตัวเฟรมส่วนที่ 4 จะต้องไม่บิดไปมาแม้แต่น้อยเพราะมันจะส่งผลถึงความเสถียรของตัวรถ
และสุดท้ายชิ้นส่วนเลข 5 ซึ่งเป็นจะที่เอาไว้ติดตั้งระบบกันสะเทือนด้านหลัง และติดตั้งซับเฟรมซึ่งจะคอยรองรับน้ำหนักผู้ขี่และผู้ซ้อนอีกทีนึง โดยในชิ้นส่วนนี้จะทำจากวัสดุแบบเดียวกับของเลข 3 นั่นก็คือวัสดุน้ำหนักเบาเพื่อลดน้ำหนักให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
และในภาพที่เห็นอยู่นี้ คือภาพแบบ Cross-Section หรือภาพตัด ที่จะเผยให้เห็นภายในของตัวเฟรมเลข 3 และ เลข 4 ซึ่งเมื่อมองที่จุด 31a จะเห็นว่าเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างเฟรมทั้งสองชิ้น โดนในส่วนนี้ก็จะถูกออกแบบให้มีความแข็งแรงขึ้นอีกนิดเพื่อความทนทาน
และรูปสุดท้ายจะเป็นรูปแบบ Top-View หรือบนสุด ซึ่งจะเห็นภาพรวมทั้งหมดของรอยต่อระหว่างเฟรมทั้งสามชิ้นนั่นเอง
ขอบคุณที่มา Morebikes
อ่านข่าวสาร Suzuki เพิ่มเติมที่ได้ที่นี่
เพื่อนๆ Bikers สามารถติดตามข่าวสารวงการล้อ ได้ทางแฟนเพจ MotoRival ของเราครับ