จากความจริงที่ว่าในช่วง 2-3 ปีมานี้เวทีการแข่งขันรถมอเตอร์ไซค์ชิงแชมป์โลก WSBK แททบจะถูกผูกขาดแชมป์โดยสองทีมใหญ่ Kawasaki และ Ducati โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับช่วงปี 2017 ที่จำนวนแชมป์กว่า 72 จาก 78 สนามตกเป็นของทั้งสองค่ายนี้
ดังนั้นเพื่อไม่ให้โพเดี้ยมอันดับหนึ่งต้องผูกขาดโดยสองทีมดังกล่าวนี้อย่างเบ็ดเสร็จเกินไปจนหมดสนุกไปซะก่อน ทางกรรมการจึงได้ออกกฏที่สร้างมาเพื่อควบคุมไม่ให้มีทีมไหนล้ำหน้าชาวบ้านมากเกินไปในปี 2018 ซึ่งในบทความนี้เราจะนำกฏตัดเตอนที่ว่ามาสรุปสั้นๆให้เพื่อนๆได้ทราบกันครับ
โดยกฏแรกที่เราจะพูดถึงก่อนเลยก็คือ “การจำกัดรอบเครื่องยนต์” โดยกฏกติกาข้อนี้จะมีผลโดยตรงกับทีมที่มีรถแรงมากเกินไป เนื่องจากถ้าหากกรรมการพบว่าทีมใหนมีตัวแข่งที่แรงกว่าชาวบ้าน (อาศัยการวัดข้อมูลตัวเลขเวลาต่อรอบ, ความเร็วสูงสุด, และผลการแข่งขันในแต่ละสนาม) ทางกรรมการก็จะสั่งลดรอบเครื่องยนต์สูงสุดลงไปราวๆ 250 รอบ/นาที ในขณะเดียวกันหากทีมไหนมีตัวแข่งที่แรงน้อยเกินไปจนไม่สามารถตามคู่แข่งได้ทัน ทางกรรมการก็จะอณญาติให้ทีมแข่งสามารถปรับรอบเครื่องยนต์เพิ่มได้อีก 250 รอบ/นาทีเช่นกัน
และสำหรับตัวเลขรอบเครื่องยนต์ที่จะถูกใช้เป็นเลขตั้งต้นตั้งแต่เปิดฤดูกาลนั้น ทางกรรมการก็จะพิจารณาจาก “รอบเครื่องยนต์จริงๆ” ตอนที่ยังเป็นแค่โปรดักชั่นไบค์หรือตอนขายจริงของตัวรถรุ่นนั้นๆ และจะอณุญาติให้ปรับรอบเครื่องยนต์เพิ่มอีกราวๆ 3.3% ซึ่งจะได้ตัวเลขรอบเครื่องยนต์ของแต่ละค่ายดังนี้
– Aprilia RSV4 RF 14,700 รอบ/นาที
– BMW S1000RR 14,700 รอบ/นาที
– Ducati Panigale R 12,400 รอบ/นาที
– Honda CBR1000RR SP1 14,300 รอบ/นาที
– Kawasaki ZX-10RR 14,100 รอบ/นาที
– MV Agusta F4 14,700 รอบ/นาที
– Suzuki GSX-R1000 14,700 รอบ/นาที
– Yamaha YZF-R1 14,700 รอบ/นาที
และกฏต่อมาก็คือ “การอัพเกรดเครื่องยนต์ระหว่างการแข่งขัน” ซึ่งก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่าโดยปกติแล้วทางกรรมการการแข่งขัน WSBK จะไม่อณุญาติให้ทีมแข่งอัพเกรดเครื่องยนต์หรือปรับเปลี่ยนชิ้นส่วนของเครื่องยนต์ได้ระหว่างฤดูกาล แต่จะอัพเกรดได้ก็ต่อเมื่อ “มีคะแนนชนะการแข่งขันน้อยกว่าชาวบ้าน” โดยหลังจบการแข่งขันทุกๆสามสนาม ทางกรรมการก็จะมาดูว่ามีทีมใดที่ได้คะแนนชนะการแข่งขันน้อยกว่าทีมผู้ชนะเป็่นจำนวน 9 แต้มบ้าง ทีมนั้นก็จะได้รับสิทธิ๋การอัพเกรดชิ้นส่วนเครื่องยนต์ 1 อย่างต่อการสรุปคะแนน 1 ครั้ง (เกณท์การให้คะแนนนี้ก็คือ อันดับหนึ่งได้รับ 3 คะแนน, อันดับสอง ได้รับ 2 คะแนน, และอันดับ 3 ได้รับ 1 คะแนน)
– สปริงวาล์ว ตัวละไม่เกิน 60 ยูโร หรือราวๆ 2,300 บาท (มีกี่วาล์วต่อสูบก็คูณกันไป)
– สปริงวาล์วแบบคู่ (สปริงวาล์วที่มีสปริงเล็กและสปริงใหญ่อยู่ด้วยกันเพื่อตอบสนองวาล์วในรอบเครื่องยนต์ที่ต่างกัน) ชุดละไม่เกิน 75 ยูโร หรือราวๆ 2,900 บาท
– ชุดรีเทนเนอร์วาล์ว ชุดละไม่เกิน 45 ยูโร หรือราวๆ 1,750 บาท
– แคมชาฟท์ ตัวละไม่เกิน 1,000 ยูโร หรือราวๆ 38,600 บาท
– เฟืองทามมิ่ง (เฟืองขับแคมชาฟท์) ตัวละไม่เกิน 100 ยูโร หรือราวๆ 3,860 บาท
– แผ่นชิมวาล์ว ตัวละไม่เกิน 45 ยูโร หรือราวๆ 1,750 บาท
– โซ่ราวลิ้น ไม่กำหนดราคา
– ฟลายวีล ชิ้นละไม่เกิน 1,000 ยูโร หรือราวๆ 38,600 บาท
ปิดท้ายด้วย “กฏการควบคุมราคาชิ้นส่วน” ซึ่งจริงๆไม่ใช่กฏใหม่อะไรมากมายนักแต่ในปี 2018 นี้ทางกรรมการได้เพิ่มชิ้นส่วนที่จะถูกควบคุมราคาให้เป็นไปตามเกณท์ที่กำหนดไว้อีก 5 อย่างด้วยกัน เพื่อช่วยเหลือทีมงบน้อย ได้แก่
– สวิงอาร์ม ชิ้นละไม่เกิน 10,000 ยูโร หรือราวๆ 386,000 บาท
– แผงคอ ชิ้นละไม่เกิน 2,000 ยูโร หรือราวๆ 77,200 บาท
– ชุดกระเดื่องทดแรงระบบกันสะเทือน ชุดละไม่เกิน 1,500 ยูโร หรือราวๆ 58,000 บาท
– ชุดระบบปั๊มน้ำมันเครื่อง ชุดละไม่เกิน 3,000 ยูโร หรือราวๆ 116,000 บาท
– ชุดระบบอิเลกทรอนิกส์ (กล่องควบคุม ECU และอื่นๆ) ชุดละไม่เกิน 8,000 ยูโร หรือราวๆ 309,000 บาท
ขอบคุณข้อมูลจาก MCN
อ่านข่าว WSBK เพิ่มเติมได้ที่นี่
เพื่อนๆ Bikers สามารถติดตามข่าวสารวงการล้อ ได้ทางแฟนเพจ MotoRival ของเราครับ