เมื่อวันที่ 18 เม.ย. 2016 (วันนี้) กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย แถลงข่าวสรุปผลการดำเนินงานลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ 2559
สรุปอุบัติเหตุทางถนนรวม 7 วัน (11 – 17 เม.ย.59) เกิดอุบัติเหตุรวม 3,447 ครั้ง ผู้เสียชีวิตรวม 442 ราย ผู้บาดเจ็บรวม 3,656 คน
จังหวัดที่ไม่มีผู้เสียชีวิต มี 4 จังหวัด ได้แก่ ตราด ยะลา ระนอง และหนองบัวลำภู
จังหวัดที่เกิดอุบัติเหตุสะสมสูงสุด ได้แก่ เชียงใหม่ 168 ครั้ง
จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตสะสมสูงสุด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นครราชสีมา 19 ราย
จังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บสะสมสูงสุด ได้แก่ เชียงใหม่ 175 คน
สาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ เมาสุรา 34.09% ขับรถเร็วเกินกำหนด 32.93%
ยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ รถจักรยานยนต์ 80.67% รองลงมา รถปิคอัพ 8.85%
ส่วนใหญ่เกิดในเส้นทางตรง 64.49% บนถนนกรมทางหลวง 37.86% ถนนใน อบต./หมู่บ้าน 36.12%
ช่วงเวลาที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ได้แก่ ช่วงเวลา 16.01 – 20.00 น. 30.23%
ผู้บาดเจ็บและผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มวัยแรงงาน 52.28%
ทั้งนี้ ได้เรียกตรวจยานพาหนะ 4,433,019 คัน มีผู้ถูกดำเนินคดี รวม 730,271 ราย มีความผิดฐานไม่สวมหมวกนิรภัย 211,502 ราย ไม่มีใบขับขี่ 204,006 ราย ทั้งนี้ ยอดผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตเพิ่มขึ้นจากช่วง 7 วันอันตราย (9-15 เม.ย.58) ที่ เกิดอุบัติเหตุรวม 3,373 ครั้ง ผู้เสียชีวิตรวม 364 ราย ผู้บาดเจ็บรวม 3,559 คน
จากสถิติพบว่ามีผู้เสียชีวิตและเกิดอุบัติเหตุมากกว่าเทศกาลสงกรานต์ปีที่แล้ว (2015) ทาง พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา จึงให้แต่ละจังหวัดรวบรวมข้อมูลเพื่อวิเคราะห์ก่อนเสนอคณะกรรมการให้แก้กฎหมาย โดยจะประมวลสาเหตุทั้งหมดให้เสร็จสิ้นภายใน 5 เดือน ตั้งแต่กฎหมายป้องกัน เช่น การได้รับใบอนุญาตขับขี่ทั้งรถส่วนบุคคลและสาธารณะ จะต้องมีมาตราการใช้รถใช้ถนนมีความรับผิดชอบ จิตสำนึก และปฏิบัติตามกฎจราจร ป้ายบอกเส้นทางต่างๆ เป็นต้น ขณะเดียวกันจะมีการศึกษาการตรวจวัดปริมาณแอลกอฮอล์โดยเทียบจากมาตราฐานสากล ที่กำหนดไว้ให้ไม่เกิน 20 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ซึ่งของประเทศไทยอยู่ที่ 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ อาจจะมีการปรับลดลง
ขอบคุณที่มา ข่าวสด
เพื่อนๆ Bikers สามารถติดตามข่าวสารวงการล้อ ได้ทางแฟนเพจ MotoRival ของเราครับ