รีวิว Honda ADV350 กับรูปแบบฟูลรีวิว เก็บตก หลังจากที่ยังขาดบางประเด็นไปใน 1st Impression
รีวิว Honda ADV350 หลังจากที่ทางทีมงาน MotoRival เราได้นำเสนอรูปแบบ 1st Impression ไปแล้ว ในวันนี้ ได้มีโอกาสมาทดสอบมันเต็มๆ อีกครั้ง ดังนั้นจึงขอมาอัพเดทประเด็นที่ขาดตกไป กับรถ Big Scooter ที่เรียกได้ว่าสุดฮอต ร้อนแรงสุด ณ ขณะนี้ กันอีกครั้งนึงครับ
เริ่มที่รูปลักษณ์ งานดีไซน์สำหรับผมถือว่าสวยลงตัว เพราะเหมือนนำเอาเส้นสายของพี่ใหญ่ X-ADV มาย่อไซส์ลง
ประยุกต์กับหน้าตาของ ADV150 ได้อย่างลงตัว จากชุดไฟหน้า LED
และ วินชิลด์ที่ปรับระดับได้ 4 ขั้น
นอกจากนี้ก็มีการให้การ์ดแฮนด์มาพร้อม ตั้งแต่โรงงาน
ไฟท้าย LED ดีไซน์ใหม่ ทรงตัว X ดูเท่รับกับเส้นข้างตัวรถ
เบาะนั่งแบ่ง 2 Step พร้อมโหนกกันคนซ้อนไหล ตำแหน่งเบาะผู้ซ้อนสวยงามมีการตัดลาย เป็นตัว X ให้เป็นสีทูโทน
และเมื่อเปิดเบาะขึ้นมา นี่ล่ะ ที่ดีงามอีกจุดตามแบบ Forza 350 คือ ช่อง U-Box ขนาดใหญ่ 48 ลิตร เก็บหมวกเต็มใบได้ 2 ใบ
รวมถึงสามารถเอากระเป๋ากล้อง และขาตั้งกล้องวางเข้าไปได้เลย
ระบบกุญแจแบบ Keyless อันเป็นมาตรฐานของรถ AT ยุคใหม่ แบบ F350
เก๊ะเก็บของที่ด้านหน้าซ้าย ลึกพอประมาณวางกระเป่าสตางค์ และ Smartphone ลงไปได้ มาพร้อมช่อง USB Type-C แต่ เวลาเสียบอาจจะลำบากหน่อย ถ้ายังไม่ชินต้องค่อยๆ งมหา หรือ ส่องไฟ
หน้าจอ Full-Digital LCD ในลักษณะที่ดูคล้ายกับ X-ADV
มาพร้อมระบบเชื่อมต่อ Smartphone Honda Smartphone Voice Control system (HSVCs) ผ่านแอป Honda Roadsync
ซึ่งจะควบคุมการทำงานของฟังก์ชั่นต่างๆ ด้วยเสียง และกดสั่งการผ่านสวิทช์แฮนด์ซ้าย
แต่การเชื่อมต่อนี้ รอบรับเฉพาะ Android 7.0 ขึ้นไป
โดยหลักการของระบบ คือ ให้เราเชื่อมต่อ Smartphone กับหูฟัง Bluetooth และเชื่อมต่อ Roadsync ก็จะสามารถใช้ปุ่ม Joystick ที่สวิทชืแฮนด์ซ้าย ควบคุมเมนู ในแอป Roadsync ได้
อาทิ บอก อุณหภูมิ, Map, การโทร, รับข้อความ, ควบคุมเพลง (ต้องล็อกอิน id กับแอป อย่าง Youtube Music หรือ Sportify ก่อน) ปรับระบบความดังเสียง เป็นต้น
ขณะที่ระบบ HSTC (Honda Selectable Torque Control) ปรับได้ 2 ระดับ และยังปิดได้ด้วย เอาใจสายลุย อยากจะไปดริฟต์เล่นทางฝุ่น
ชมคลิปทดสอบ HSTC ADV350 ได้ที่นี่
แฮนด์เทปเปอร์แบบ Fatbar ที่ช่วยให้การคอนโทรลรถทำได้เหมาะสมตามสไตล์รถลุย
ชุดท่อไอเสียปรับทรงใหม่ เป็นทรงเหลี่ยม ดูสวยงามและปราดเปรียวให้ความสปอร์ตยิ่งขึ้น
มิติรถ
นน.ตัว 186 กก. หนักกว่า F350 1 กก เท่านั้น
ความสูงเบาะ 795 มม.
ระยะ Ground Clearance 155 มม. (สูงกว่าเวอร์ชั่น UK 10 มม.)
ความจุถังน้ำมัน 11.7 ลิตร
ท่านั่ง
เริ่มที่ความสูงเบาะ 795 มม. เท่า Forza 350 แต่ ช่วงปลายเบาะจะแคบกว่า ซึ่งก็จะแลกกันกับ ช่วงล่างที่สูงกว่า ทำให้ผมที่สูง 175 ซม. สวมรองเท้าผ้าใบยังลงได้ไม่เต็มเท้าเท่าที่ควร
ตำแหน่งแฮนด์ แม้จะเป็น Taper Fatbar ทรงเตี้ย แต่ตุ๊กตาแฮนด์ยกสูงมาก ทำให้ตำแหน่งความสูงออกมากำลังดี ไม่สูง ไม่ต่ำ เกินไป และเวลายืน ก็ยังอยุ่ในระนายที่เหมาะสม
ขณะที่แฮนด์กว้าง และองศาที่พอเหมาะทำให้มันคอนโทรลรถได้อย่างดีเยี่ยม คือ พลิกรถหักวงเลี้ยวคอนโทรลต่างๆ ได้ง่ายกว่า Forza 350 อย่างเห็นได้ชัด
ส่วนการมุดช่องจราจร พบว่า แฮนด์สูงกว่ากระจกรถยนต์ทั่วไป แต่ก็อยู่ในระดับเดียวกับพวกรถยกสูง รวมถึงการการ์ดแฮนด์
ด้าน Floorboard แคบกว่า Forza 350 อยู่เล็กน้อย แต่ผมเท้าไม่ได้ใหญ่มาก ยังเหยียบได้เต็มพื้นที่ Floorboard อยู่
ขณะที่น้ำหนักตัว 186 กก. หนักกว่า Forza 350 เพียง 1 กก. ไม่ได้เป็นอุปสรรคขึ้นแต่อย่างใด เพราะ โดยภาพรวมแม้ มิติรถอาจจะดูใหญ่กว่าอยู่เล็กน้อย แต่การเข็นรถ หรือ ขึ้นขาคู่นั้นก็ยังทำได้ไม่ยากเช่นเคย แถมที่สำคัญ คือ มันคอนโทรลรถได้ดีกว่าจึงทำให้เราขี่ไปแล้วไม่รู้สึกว่ามันหนักแต่อย่างใด
ตำแหน่งผู้ซ้อน พักเท้าเหมือนกันกับ Forza 350 ทำให้เวลาเกี่ยวส้นเท้าเอาพักเท้าออกจะยากลำบากสักนิด
ตัวเบาะปรับปรุงดีขึ้นจากการมีโหนกกันไหลเพิ่มเข้ามา แต่ความกว้างเบาะนั้นกว้างเหมือนเดิม ทำให้เวลานั่งซ้อนยังคงต้องนั่งแบะขาออก แต่ ADV350 แฟริ่งท้าย จะไม่ได้เหลี่ยนสัน เหมือน Forza 350 ทำให้ไม่ดันช่วงน่อง จึงไม่เจ็บเท่าไร ส่วนมือจับกันตก ขนาดใหญ่ และเป็นทรงเหลี่ยม โดยส่วนตัว ผมและคนมือขนาดเล็ก น่าจะจับไม่ถนัด เพราะจับได้ไม่เต็มฝ่ามือ
เครื่องยนต์ eSP+ พิกัด 329cc แบบ SOHC 4 วาล์ว ส่งกำลังด้วยระบบสายพาน CVT
บล็อกเดียวกับ Forza 350 ซึ่งการันตีได้เลยในเรื่องของความแรง เพราะทีมงาน MotoRival เราได้เคยทำรีวิว พร้อมทดสอบอัตราเร่ง – TopSpeed ไปแล้วว่า เค้าสุดในคลาส Big Scooter พิกัดไม่เกิน 400cc เดิมๆ วิ่งจมหน้าไมล์ได้สบาย
พอมาอยู่ใน ADV350 ต้นนั้นยังดูจัดจ้านเช่นเคย แต่ ช่วงความเร็วปลาย ด้วยความที่ทรงรถโต้ลมกว่า ทำให้ความเร็วตั้งแต่ 130+ ขึ้นไป จะไหลขึ้นช้ากว่าอย่างเห็นได้ชัด
รับชมคลิปทดสอบ 0-TopSpeed ADV350
ด้านอัตราสิ้นเปลือง Honda เคลมที่ 28.6 kml ตาม Eco Sticker
ถ้าขี่จริงในเมืองอยู่แถว 23-24 kml แต่ถ้าเดินทางยาวๆ ได้แถว 27 kml ถ้าขี่เดินทางไกล และวิ่งไม่เร็มาก
ระบบกันสะเทือน
เห็นกระบอกสีทองแบบนี้ ที่หลายคนรอคอยเลย นั่นก็คือ ชุดโช้กอัพหน้าแบบ USD มาเป็นที่เรียบร้อย โดยมีขนาดแกน 37 มม. มีระยะยุบ 125 มม.
ด้านหลังโช้กแก๊ส คู่มาพร้อมกระปุกซับแทงค์แยกจาก SHOWA ระยะยุบถึง 130 มม. อันนี้ก็ดีงามอีกเช่นกัน เพราะหลายคนมักบ่นถึงโช้กหลังคู่เดิมๆ ของพวกรถ Scooter ทั้งหลาย ซึ่งที่จริง Honda ให้โช้กลักษณะนี้มาตั้งแต่ ADV150 แล้ว และผมรู้สึกได้เลยว่ามันเพียงพอ เฟิร์มแน่น ไม่ย้วย
ต้องบอกว่าจากที่ผมขี่ใช้งานจริง ทั้งขี่คนเดียว มีคนซ้อน ทั้ง On-Road, Off-Road คือ เดินคันเร่งได้เต็มผ่านหลุมบ่อ ไม่ต้องกังวลว่าโช้กจะยัน
ไม่เพียงเท่านั้น ตอนขี่เจอหลุมทางขรุขระผิวดวงจันทร์ ของถนนสุดแย่ในประเทศไทย โข้กหลังยังซับแรงดี คนนั่งซ้อนไม่บ่นว่ามันไม่สะท้าน แม้หลายครั้งผมแทบจะไม่ได้เบรก
ส่วนโช้กหน้าก็ไม่สะเทือนขึ้นฝ่ามือ เหมือนโช้กหัวตั้งหลายรุ่น เวลาผ่านพวกลูกระนาด หรือ จะรอยต่อถนน
นอกจากนี้ที่ความเร็วสุูงๆ แม้รถจะโต้ลมกว่า และช่วงล่างสูงกว่า Forza 350 ทำให้ปลายไม่ไหลเท่า แต่ที่ความเร็วสูงๆ ผมกลับรู้สึกช่วงล่างมันมั่นคงกว่า Forza 350 แบบรู้สึกได้
สำหรับผมช่วงล่างเดิมๆ ก็เพียงพอ กับการขี่ใช้งานจริงในทุกสภาพพื้นผิว ไม่จำเป็นต้องไปเปลี่ยนโช้กหลังแต่ง หรือ เซ็ทโช้กหน้าใหม่
ชุดล้ออัลลอย ปรับลายใหม่ เป็นแบบ X-Shape 6 ก้าน ด้านหน้าขนาด 15″ หลัง 14″ และปรับมาใส่ยางแบบ Dual Purpose ซึ่งต้องบอกว่า ok นะสำหรับผมไม่ติดอะไร
แต่ถ้าเกิดใครซื้อมาเน้นขี่ในเมืองไม่ได้เอาไปลุย ผมว่าเปลี่ยนใส่ยางทางเรียบ หรือ ใครชอบซิ่ง ขี่เดินทางยาวๆ ออกทริป ใส่ยางซีรีย์สปอร์ต ก็น่าจะตอบโจทย์กว่า วิ่งดีขึ้นอีก
ระบบเบรก จะเหมือนกับ Forza 350 คือ มีระบบ ABS Dual Channel พร้อมไฟ ESS เมื่อเบรกกระทันหัน
ด้านหน้าจานดิสก์เดี่ยวขนาด 256 มม. ทำงานร่วมกับปั๊ม Nissin 2 pot
ด้านหลังจานเดี่ยวขนาด 240 มม. ทำงานร่วมกับคาลิปเปอร์ Nissin 1 pot
โดยรวมเบรกเดิมๆ ชุดนี้ก็ถือว่า เบรกพอเอาอยู่ใน Forza 350 แล้ว แต่ถ้าใครสายซัด ขี่มาเร็วๆ เบรกหนักๆ ผมว่าอัพเกรดเบรกอีกหน่อย อย่างใส่จานขยาย ก็น่าจะเบรกดีขึ้นอีก
นอกจากนี้ปั๊ม Nissin ยังทำงานได้ดี ระบบ ABS ไม่ไวไป ไม่ช้าไป ไม่สะท้านขึ้นนิ้วมือมากนัก
สรุป รีวิว Honda ADV350 แบบจัดเต็มฟูลรีวิว กันอีกครั้ง ก็ได้เก็บตกรายละเอียดในหลายประเด็นที่ขาดตกบกพร่องไป ทั้งอัตราเร่งบนถนน – TopSpeed แม้อาจจะมุดไม่คล่องเท่า F350 และ ความเร็วปลายไม่เยอะเท่า แต่เรื่องขี่คอนโทรลทำได้ดีกว่าแน่นอน แถมช่วงล่าง ให้มาจากโรงงานสำหรับผมเพียงพอจบไม่ต้องไปทำต่อแล้ว
จะขี่บนพื้นผิวจราจรแบบไหนก็ตามในประเทศไทย อันสุดแย่ ก็ใส่ได้เต็มที่แบบไม่ต้องกลัวโช้กยัน
ขณะที่ความอเนกประสงค์ถือว่าดีสุดในพี่น้อง ADV ของมัน (เพราะ U-Box ใหญ่กว่า ADV150 และ X-ADV) เรียกได้ว่าออกรถคันนี้คันเดียวจบครบทุกการเดินทาง แทบจะไม่ต้องไปทำอะไรเพิ่มแล้ว
ถ้าอยากแรงก็ไม่ยาก เพราะเครื่องและระบบส่งกำลังเหมือนกันกับ Forza 350 เลย ไล่ข้าง จะท่อ หรือ กรองอีกหน่อย น่าจะวิ่งได้ไม่แพ้ Forza 350
Honda ADV350 ราคา เริ่ม 181,900 บาท ในรุ่น STD
และ 183,900 บาท ในรุ่น Roadsync
โดย มีให้เลือก 3 สี คือ เงิน แดงด้าน ดำด้าน
นอกจากนี้ยังมีเวอร์ชั่นตัวแต่งพิเศษ Limited ที่มีจำกัด อีก 2 รุ่น คือ
ADV350 Urban Racer Edition ราคา 199,500 บาท (ใช้สีแดง รุ่น Standard มาตกแต่ง)
ADV350 Touring Master Edition ราคา 197,500 บาท (ใช้สีดำ รุ่น Roadsync มาตกแต่ง)
ซึ่งหมดแล้ว
อ่านข่าว Honda เพิ่มเติมได้ที่นี่
อ่าน รีวิว เพิ่มเติมได้ที่นี่