ในกติกาเรื่องข้อกำหนดเครื่องยนต์รถแข่ง MotoGP ในปัจจุบันนั้นถึงแม้จะไม่ได้มีการระบุเรื่องจำนวนลูกสูบขั้นต่ำเอาไว้ บอกไว้แค่เพียงว่าต้องมีจำนวนลูกสูบไม่เกิน 4 สูบ และความจุเครื่องยนต์ไม่เกิน 1000 ซีซี แต่เนื่องจากข้อกำหนดอีกข้อขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางกระบอกสูบที่ไม่ให้เกิน 80 มิลลิเมตร จึงทำให้ค่ายรถทั้งหมดต้องทำเครื่องยนต์แบบ 4 สูบเรียง อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะถ้ามีจำนวนลูกสูบน้อยกว่านี้ เส้นผ่านศูนย์กลางกระบอกสูบจะกว้างเกินกติกาที่ระบุไว้
โดยกติกาเรื่องสเปครถดังกล่าวก็จะถูกลากใช้ยาวถึงปี 2026 เป็นอย่างน้อย แต่ขณะเดียวกันก็มีวิศวกรวงในที่ไม่เปิดเผยชื่อ ได้ออกมาให้ความเห็นเชิงบ่นของตัวเองกับสื่อ GPOne ถึงเรื่องทางตันทางเทคโนโลยีของกติกาดังกล่าว รวมถึงปัญหาตารางการแข่งขันแบบใหม่ที่มีการเพิ่ม Sprint Race จนทำให้ทีมช่างไม่มีเวลาเซ็ตรถ “ตำแหน่งการ Qualify ถูกนำมาใช้กับทั้ง Sprint Race และการแข่งขันจริง นั่นทำให้สิ่งที่ตัดสินตำแหน่งแชมป์โลกนั้นไปอยู่กับการจัดลำดับสตาร์ทหมด แทนที่จะเป็นการแข่งขัน”
นั่นจึงเป็นผลให้ Yamaha และ Honda ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้แม้ผ่านมาหลายสนาม เพราะมัวแต่ใช้เวลาที่จำกัดไปกับการพยายามทำอันดับออกตัว อีกเหตุผลนึงที่มีการพูดกันในหมู่ทีมงานเบื้องหลังคือ แนวโน้มที่จะมีการเปลี่ยนกติกาใหม่ก่อนปี 2026 นั่นจึงทำให้ค่ายรถที่มีปัญหาเหล่านี้ไม่กล้าลงทุกครั้งใหญ่เพื่อแก้ปัญหา เนื่องจากเสี่ยงที่การลงทุนนั้นจะสูญเปล่าหลังเปลี่ยนกติกา
“MotoGP มาถึงทางตันเพราะข้อกำหนดขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางกระบอกสูบที่ 80 มิลลิเมตร เครื่องยนต์แบบ I4 เป็นเครื่องยนต์ที่เล็กและดี ส่วนแบบ V4 นั้นยาวกว่าและเดินท่อไอเสียยากกว่า แต่ถ้าพวกเขาเปลี่ยนกติกาใหม่ เปลี่ยนขนาดให้จำกัดที่สัก 86 มิลลิเมตร เครื่องยนต์ที่ดีที่จุดจะกลายเป็นแบบ 3 สูบ ไปอย่างไม่ต้องสงสัย” แต่น่าเสียดายที่วิศวกรคนดังกล่าว ไม่ได้อธิบายรายละเอียดว่าทำไมต้องเป็นแบบ 3 สูบเรียง
ที่มา gpone
อ่านข่าวสาร MotoGP เพิ่มเติมได้ที่นี่