Tips Trick : ประโยชน์และหลักการที่แท้จริงของการ”กางขา” ก่อนเข้าโค้ง มาดูกันว่านักแข่งระดับโลกทำเพื่ออะไร

0

สำหรับการแข่งขันระดับ MotoGP นอกจากจะขึ้นชื่อในเรื่องความเก่งขั้นเทพของนักแข่งแต่ละคนแล้ว ยังขึ้นชื่อในเรื่องของการพัฒนาเทคโนโลยีหลายๆอย่างสำหรับโลกมอเตอร์ไซค์

Rea-Sykes
ยกตัวอย่างเช่น เกียร์ Seamless box และ ระบบ Quick Shifter ที่ช่วยให้นักแข่งสามารถเร่งความเร็วจากเกียร์หนึ่งสู่เกียร์หนึ่งได้อย่างต่อเนื่อง, ระบบ Traction Control, ระบบป้องกันล้อหน้าลอย, ระบบควบคุม Engine brake ที่ทำให้เราสามารถควบคุมรถคู่ใจได้สะดวกสบายยิ่งขึ้น และอื่นๆอีกมากมายที่ถูกพัฒนาจากสนามแข่ง ก่อนที่มันจะถูกถ่ายทอดลงมาสู่รถตลาดให้พวกเราได้ใช้กัน

Jonathan-Rea-2015-WSBK-Title-Jerez_8
ซึ่งแน่นอนว่านอกจากเทคโนโลยีเหล่านี้แล้ว ในเรื่องของเทคนิคการขับขี่ต่างๆที่นักแข่งระดับ MotoGP ใช้ก็มีการพัฒนามาเรื่อยๆเช่นกัน ไล่ตั้งแต่ การแทงเข่าออกจากตัวรถ ซึ่งเอาจริงๆแล้วมันพึ่งมีการใช้เทคนิคนี้ครั้งแรกในช่วงยุค 70 โดยนักบิด World GP นาม Jarno Saarinen หลังจากนั้นก็เริ่มมีการเอาตัวออก หรือย้ายก้นจากแนวรถ ไปจนถึงการทิ้งศอกที่มีให้เห็นกันในการแข่งขันระดับ MotoGP ยุคปี 2000

wave-leg-pros-tips-02
และในช่วงเกือบ 20 ปีที่ผ่านมา ก็ได้เกิดเทคนิคใหม่ขึ้นอีกอย่างหนึ่ง นั่นก็คือการ “กางขา” ก่อนเข้าโค้ง ซึ่งมันเริ่มปรากฏให้เห็นแบบชัดเจนเป็นครั้งแรกโดยแชมป์ MotoGP 9 สมัยที่เรารู้จักกันดีนั่นก็คือ Valentino Rossi โดยต้องย้อนไปในการแข่งขัน Jerez ปี 2005 ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ Rossi กำลังจะแซง Sete Givernau ในโค้งสุดท้าย โดยการเสียบจากวงใน ก่อนที่จะเบียด(หรือกระแทก)จนผู้นำหลุดแทร็คออกไป ซึ่งจะเห็นได้ว่าจู่ๆเค้าก็กางขาซ้ายออกมาขณะเบรกไม่รู้ด้วยเหตุผลอะไร แต่จากเหตุการณ์นั้นก็ทำให้เกิดชื่อท่าการขับขี่ใหม่ว่า “The Doctor Dangle” (อันที่จริงท่านี้ได้เริ่มมีให้เห็นตั้งแต่ยุคปี 1980 แล้ว หากอ้างอิงจากภาพการแข่งขันในยุคนั้น แต่ที่ใช้แล้วติดตาและกล่าวถึงกันมากที่สุดก็คือในเหตุการณ์ปี 2005)

46-valentino-rossi-Jerez
หลังจากนั้นก็ปรากฏเหตุการณ์ “The Doctor Dangle” (Rossi กางขา) ออกมาให้เห็นบ่อยมากขึ้น จนนักแข่งรุ่นหลังๆ เริ่มทำตามเยอะขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับในช่วงเกือบ 10 ปีมานี้

wave-leg-pros-tips-01
อย่างไรก็ตาม แม้จะผ่านการฝึกซ้อมหรือใช้งานเทคนิคนี้มาได้พักใหญ่ ก็ยังไม่มีนักแข่งคนใหนสามารถตอบได้อย่างแน่ชัดว่าพวกเค้าทำไปเพื่ออะไร โดยเหตุผลหลักๆที่พวกเค้ามักพูดถึง นอกจากการบังไลน์คู่แข่งที่จ้องจะเสียบจากทางด้านหลังหรือเล่นเกมจิตวิทยากับคู่แข่งแล้ว การกางขานี้ยังช่วยให้ความรู้สึกในการเข้าโค้งนั้นมีความเป็นธรรมชาติมากขึ้น แต่ธรรมชาติอย่างไรนั้น เราจะมาพูดถึงเรื่องนี้กันครับ

wave-leg-pros-tips-04
เริ่มจาก ในการเข้าโค้งแต่ละครั้ง ผู้ขับขี่จะต้องควบคุมแรง 2 ชนิดด้วยกัน นั่นคือ “แรงเหวี่ยง” ที่คอยผลักเราออกไปในทิศทางตรงกันข้ามกับโค้ง และ “แรงโน้มถ่วงโลก” ที่จะคอยกดเราให้อยู่ติดกับพื้น ให้สมดุลกันที่สุด และแรงทั้ง 2 อย่างนี้ยังมีผลเกี่ยวเนื่องกันกับ “จุดศูนย์ถ่วง” อีกด้วย(ในที่นี้หมายถึงจุดศูนย์กลางของน้ำหนักคนและรถรวมกัน)

Vinales25
อธิบายง่ายๆคือ แรงเหวี่ยงที่เกิดจะมีผลมากขึ้นตามความสูงของจุดศูนย์ถ่วง และถ้าหากแรงเหวี่ยงมีมากเกินไป ตัวรถก็จะไถลออกนอกโค้งไปในที่สุด ดังนั้นวิธีแก้ง่ายๆ ที่เรามักทำกันแบบไม่รู้ตัวนั่นก็คือการ “เอียงรถ” เพื่อกดจุดศูนย์ถ่วงให้ต่ำลงให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ทำให้ให้แรงเหวี่ยงนั้นมีผลกับตัวรถน้อยที่สุด แต่ก็ต้องไม่น้อยเกินไปจนรถพับ ณ ความเร็วขณะนั้น

Rossi-Marquez-DutchGP-2015
แล้วถ้าหากเราจุดศูนย์ถ่วงลงต่ำด้วยการเอียงรถจนถึงขีดจำกัดแล้วล่ะ ? (อาจจะด้วยพักเท้าหรือแฟริ่งขูดพื้นอะไรก็แล้วแต่)

Lorenzo99-Brno2016
อย่างที่ทราบกันดีว่า “จุดศูนย์ถ่วง” ในที่นี้เป็นผลรวมที่เกิดขึ้นระหว่าง “น้ำหนักตัวเรา” กับ “น้ำหนักตัวรถ” และในเมื่อตัวรถลงไปไม่ได้แล้ว เราก็เอาตัวเราลงไปแทนรถสิครับ

scott-redding-pramac-ducati-motogp-phillip-island-test-2016-13
ใช่ครับนี่คือเทคนิคที่มีให้เห็นกันในการขับขี่ยุคหลัง ซึ่งมีชื่อเรียกตั้งแต่ Lean In, Hang On หรือที่นักแข่งมักใช้กัน คือการโหนไปกับรถ ที่เรียกกันว่า Hang Out ท่าการขับขี่เหล่านี้ถูกคิดขึ้นมาเพื่อย้ายน้ำหนักตัวเรา ให้ลงมาต่ำแทนตัวรถ ซึ่งผลที่ได้คือ จุดศูนย์ถ่วงอยู่ในตำแหน่งที่สมดุลและต่ำกว่าไปพร้อมกับการที่รถไม่ต้องเอียงมากเหมือนตอนใช้ท่าขับปกติ (เมื่อเทียบกับท่า Lean With)

ducati-iannone-dovizioso-AustrianGP
ซึ่งในโลกของการแข่งขันนั้น การเตรียมตัวหรือจัดร่างกายก่อนเข้าโค้งนั้นเป็นอะไรที่สำคัญมากๆ เราจึงเห็นกันบ่อยๆ ว่าพวกนักแข่งทั้งหลายมักจะจัดย้ายก้น ย้ายตัวกันตั้งแต่เริ่มเบรกนู่นแล้ว ไม่ใช่พึ่งมาเอาตัวออกตอนเข้าโค้ง เพราะถ้าไม่อย่างนั้น จุดศูนย์ถ่วงรวมก็จะออกมานอกรถช้าไปจนทำให้รถถึงลิมิตการเอียงไวจนไม่สามารถใช้ความเร็วที่ควรจะใช้ได้นั่นเอง

wave-leg-pros-tips-06
กลับมาที่การ “กางขา” พระเอกของเราในบทความนี้ สำหรับน้ำหนักขาของเรานั้นถ้าคิดเป็นเปอร์เซ็นของทั้งร่างกายแล้วล่ะก็ มันมีสัดส่วนถึง 20% เลยทีเดียว (เช่น ถ้าคนขับน้ำหนักตัว 70 กิโลกรัม น้ำหนักขาของเค้าคือ 14 กิโลกรัมเลย) ซึ่ง “ขา”เป็นอะไรที่เราสามารถย้ายไปมาได้ง่ายที่สุดแล้ว และเมื่อประกอบกับเหตุผลว่า “นักแข่งจำเป็นจะต้องจัดร่างกายให้พร้อมเพื่อย้ายศูนย์ถ่วงออกจากรถก่อนเข้าโค้งให้เร็วที่สุด” การกางขาจึงเป็นอะไรที่ไวกว่าการย้ายทั้งตัวออกจากรถอย่างมาก

mm93-wave-leg
ประโยชน์อีกอย่างนึงที่ได้จากการ “กางขา” ก่อนเข้าโค้งก็ คือ ในการแข่งขันระดับ MotoGP ความเร็วที่พวกเค้าใช้นั้นคือระดับ 300+ กิโลเมตร/ชั่วโมง (จริงๆแทบจะ 340+ กิโลเมตร/ชั่วโมง ด้วยซ้ำ) ซึ่งแรงปะทะของอากาศนั้นไม่ใช่น้อยๆเลย ดังนั้นการกางขาของนักแข่งนั้น ยังมีส่วนช่วยในเรื่องของ Air Brake ดังที่เห็นในกราฟ (ยิ่งความเร็วสูงมาก แรงต้านอากาศยิ่งเยอะ) และถ้าหากนักแข่งกางขาออกไปด้านหน้า มันจะช่วยเพิ่ม “แรงกดที่ล้อหน้า” ซึ่งแรงตัวนี้ส่งผลโดยต่อ “ความเสียดทางของหน้ายาง” จึงทำให้การเบรกแต่ละครั้งมีประสิทธิภาพมากขึ้นนั่นเอง

wave-leg-pros-tips-05
แต่ใช่ว่านักแข่งทุกคนจะชอบใช้เทคนิคนี้ เพราะข้อเสียของการกางขาคือ มันทำให้เสียเวลาในการจัดตำแหน่งเท้าของเรา ซึ่งนี่ก็เป็นสิ่งเล็กๆน้อยๆที่สำคัญในการแทงเข่าเช่นกัน

Lorenzo-Sepang-Test
ยกตัวอย่างเช่น Jorge Lorenzo ที่เราแทบไม่เคยเห็นเค้าใช้เทคนิคนี้เลย (น้อยมาก) และโดยส่วนตัวผู้เขียนเองก็เลือกใช้บางโอกาส ซึ่งก็รู้สึกถึงประโยชน์นี้อยู่บ้าง แต่ก็ใช้ได้เพียงการกางขาซ้ายเท่านั้น เพราะขาขวาของผู้เขียนยังต้องใช้ในการเหยียบเบรกเท้าอยู่ (คือแค่เบรกหน้าของรถผู้เขียนอย่างเดียวมันเอาไม่ค่อยอยู่ 555+)

MX2 หมายเลข 84 (2)_resize
จะให้กล่าวกันโดยสรุปแล้วว่านักแข่งเลือกใช้เทคนิคนี้แล้วมันมีประโยชน์แท้จริงหรือไม่นั้น ส่วนสำคัญคือสไตล์และความถนัดของนักแข่งแต่ละคนด้วย
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง นักบิดที่ชอบเบรกลึก สไลด์ดริฟต์เข้าโค้ง อาจยิ่งใช้เทคนิคนี้ช่วย บาลานซ์รถ ในสไตล์เดียวกับการขี่รถ MX หรือ Flat Track นั่นเอง

wave-leg-pros-tips-03
คิดเห็นอย่างไรบ้างครับกับเทคนิคการกางขาก่อนเข้าโค้ง มีใครใช้แล้วให้ผลในด้านอื่นบ้าง เชิญแสดงความเห็นมาได้เลยครับผม

ขอบคุณที่มา Bennetts.co.uk

อ่าน Tips Trick อื่นๆ เพิ่มเติมได้ที่นี่

เพื่อนๆ Bikers สามารถติดตามข่าวสารวงการล้อ ได้ทางแฟนเพจ MotoRival ของเราครับ

Share.

About Author

error: Content is protected !!