เชื่อว่าเพื่อนๆไม่มากก็น้อยน่าจะเคยได้ยินคำว่า “อัตราทดเกียร์แบบ OverDrive” กันมาบ้างอย่างน้อยก็ครั้งสองครั้ง แล้วถ้าเราจะพูดถึง “อัตราทดเกียร์แบบ DD6” ล่ะ ? อันนี้ผมเชื่อว่าคงมีน้อยคนกว่าเดิมแน่ๆที่จะรู้ว่าเจ้าอัตราทดเกียร์แบบหลังนี้คืออะไร ?
ก่อนอื่นเรามาเริ่มทำความเข้าใจเกี่ยวกับ “อัตราทดเกียร์แบบ OverDrive” (ตัวเลขอัตราทดต่ำกว่า 1.00) กันก่อน อย่างที่เราบอกกันไปก่อนหน้านี้ ว่าเพื่อนๆคงเคยเห็นผ่านๆกันมาบ้างแล้วกับคำๆนี้ ซึ่งเราพอจะอธิบายได้สั้นๆว่า อัตราทดเกียร์แบบดังกล่าวนั้นถูกออกแบบมาเพื่อทำให้รอบเครื่องยนต์หมุนช้ากว่าเฟืองตาม (ส่วนใหญ่จะเป็นเกียร์ 4 ขึ้นไป)ส่งผลให้ตัวรถไม่ต้องใช้รอบที่สูงมากนักเพื่อทำความเร็ว และแน่นอนว่ามันเป็นผลให้อัตราการบริโภคน้ำมันดีขึ้น (ค่าประสิทธิภาพในการใช้น้ำมันอยู่ที่ 92%) ทำให้เรามักจะเห็นวิศวกรออกแบบอัตราทดเกียร์ของรถแนวครุยเซอร์หรือทัวริ่งให้เป็นแบบนี้เพื่อเหตุผลดังกล่าว
แต่ในขณะเดียวกันการออกแบบให้รอบเครื่องหมุนช้ากว่าเฟืองตามนั้นมีข้อเสียตรงที่อัตราเร่งจะช้าลงเนื่องจากโหลดไปตกอยู่ที่เครื่องยนต์มากไป ทำให้พวกรถมอเตอร์ไซค์แนวสปอร์ตหรือสตรีทแน็คเก็ทเลือกใช้ “อัตราทดเกียร์แบบ UnderDrive” (ตัวเลขอัตราทดมากกว่า 1.00) ซะส่วนใหญ่ เนื่องจากมันจะทำให้รอบเครื่องยนต์จะหมุนไปเร็วกว่าเฟืองตาม ส่งผลให้โหลดเกิดขึ้นกับเครื่องยนต์น้อยลง และอัตราเร่งก็จะแสดงออกมาด้วยความกระฉับกระเฉงมากขึ้น แต่แน่นอนว่ามันก็จะทำให้เปลืองน้ำมันเยอะขึ้น (ส่วนใหญ่จะใช้กับเกียร์แรกๆเช่น 1-2-3 เพื่อออกตัว แต่ในรถมอเตอร์ไซค์แนวสปอร์ตหรือสตรีทแน็คเก็ทอาจจะเป็นแบบ UnderDrive จนถึงเกียร์ 6 เลยก็ได้)
นอกจากนี้ในรถมอเตอร์ไซค์บางรุ่น ทางวิศวกรก็ออกแบบ “อัตราทดเกียร์แบบ Direct-Drive” ” (ตัวเลขอัตราทด 1 : 1 หรือ 1.00 เป้ะๆ)ให้เลือกใช้กันด้วย ซึ่งอัตราทดเกียร์แบบนี้ถูกออกแบบมาเพื่อเป็นจุดกึ่งกลางระหว่างอัตราทดเกียร์สองแบบก่อนหน้า อธิบายแบบตรงๆตัวก็คือ อัตราทดเกียร์แบบนี้จะทำให้รอบเครื่องยนต์และรอบเฟืองตามหมุนไปพร้อมๆกัน ทำให้อัตราเร่งนั้นผกผันกับเครื่องยนต์อย่างเป็นธรรมชาติ (ส่วนใหญ่จะเป็นเกียร์ 4 ที่ใช้อัตราทดแบบนี้ เพราะต้องการความต่อเนื่องในช่วงเกียร์ดังกล่าว)
และถ้าใช้รอบแรงบิดที่ถูกต้องด้วยล่ะก็จะส่งผลให้ค่าประสิทธิภาพในการใช้น้ำมันนั้นดีขึ้นกว่าแบบ Overdrive ถึง 7% เป็น 99% เลยทีเดียว (แต่ต้องเป็นอัตราทด 1 : 1 ที่เกียร์ 6 เท่านั้นหรือที่เรากล่าวไปก่อนหน้านี้ว่า “DD6” นะครับ) เนื่องจากมันไม่ต้องเสียกำลังไปกับการผกผันของอัตราทดนั่นเอง
อย่างไรก็ตามการที่รถมอเตอร์ไซค์รุ่นดังกล่าวจะใช้อัตราทดดังกล่าวได้นั้นจะเป็นที่จะต้องมีย่านกำลังแรงบิดที่กว้างพอสมควรเพื่อรองรับกับโหลดที่ส่งมาโดยตรงกับรอบเครื่องยนต์มากขึ้น และจะตัวกราฟของแรงบิดต้องไม่ชันมากจนเกินไปจึงจะทำให้อัตราเร่งมีความเป็นธรรมชาติ เพราะถ้าไม่อย่างนั้นล่ะก็ อัตราเร่งที่ได้เกิดขึ้นจะหน่วงและหนักเอาเรื่องเลยทีเดียวเนื่องจากย่านกำลังแรงบิดแคบและต่ำเกินไป ในทางตรงกันข้ามถ้าหากเครื่องยนต์มีแรงบิดมากไป อัตราเร่งที่ได้ก็จะไม่นิ่มนวลและกระชาก เพราะรอบของล้อสัมพันธ์กับรอบเครื่องยนต์โดยตรง ทำให้วิศวกรมักจะออกแบบไปใช้อัตราทดแบบอื่นเพื่อความสะดวกในการปรับแก้อัตราเร่งให้เหมาะสมที่สุดกับเครื่องยนต์นั่นเอง
ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก Baker Drivertrain
อ่าน Tips Trick เพิ่มเติมได้ที่นี่
เพื่อนๆ Bikers สามารถติดตามข่าวสารวงการล้อ ได้ทางแฟนเพจ MotoRival ของเราครับ