เจาะข้อมูล Honda CBR1000RR SP2 ตัวแข่ง WSBK

0

หากพูดถึงความต่างระหว่างตัวแข่ง MotoGP กับ WSBK คร่าวๆ เพื่อนๆหลายคนคงทราบกันดีว่าตัวแข่งของรายการแรกนั้น มันคือรถต้นแบบที่ถูกสร้างมาเพื่อใช้งานในสนามเท่านั้น แต่ในขณะเดียวกันทางฝั่งรายการหลัง ก็คือการนำรถซุปเปอร์ไบค์ที่ถูกออกแบบเพื่อใช้งานบนถนนหลวงจริงๆมาปรับแต่งให้สามารถทำเวลาต่อรอบในสนามแข่งได้ดีกว่ารถทั่วไป

behind-honda-cbr1000rr-wsbk-01
ซึ่งในวันนี้เราก็มีคลิปสาระดีๆจาก Honda ที่ลงทุนเปิดเผยข้อมูลของตัวแข่ง CBR1000RR SP2 ที่พวกเขาใช้ลงทำการแข่งขันเวที WSBK ในปัจจุบัน ให้พวกเราได้ทราบพอเป็นวิทยาทานกัน ซึ่งจะมีเรื่องอะไรที่น่าสนใจบ้าง มาว่ากันเลยครับ

honda-cbr1000rr-ten-kate-wsbk-2018-03
สำหรับข้อมูลในเบื้องต้นของตัวแข่ง Honda CBR1000RR SP2 WSBK คันนี้นั้น ทางทีมช่างได้ระบุไว้ว่าพวกเขาสามารถรีดเค้นเครื่องยนต์ 4 สูบเรียงให้ทำกำลังได้สูงสุดถึง 220 กว่าแรงม้า ที่ 14,300 รอบ/นาที ซึ่งต่างจากตอนแรกที่มีกำลังสูงสุดอยู่ 189 แรงม้าที่ 13,000 รอบ/นาที อย่างเห็นได้ชัด

honda-cbr1000rr-ten-kate-wsbk-2018-01
โดยจากข้อมูลทางทีมแข่งได้ระบุไว้ว่าการปรับแต่งฝาสูบคือส่วนที่อิสระที่สุดตามกฏการแข่งขัน WSBK ซึ่งแต่ละทีมสามารถปรับแต่งได้ทั้ง แคมชาฟท์ (เพลาลูกเบี้ยว), วาล์ว, สปริงวาล์ว, และอื่นๆอีกมากมาย ขณะที่ชุดแครงก์ล่างหรือแม้แต่เพลาข้อเหวี่ยงเองก็ต้องเป็นของเดิม ส่วนระบบส่งกำลังนั้นสามารถเปลี่ยนเป็นของแต่งได้หมดทั้ง ระบบคลัทช์และชุดเฟืองเกียร์

honda-cbr1000rr-ten-kate-wsbk-2018-02
และเนื่องจากว่าการปรับแต่งทั้งหมดนี้ส่งผลให้ลักษณะความต่อเนื่องของกราฟกำลังเครื่องยนต์ไม่เนียนเท่าไหร่นัก การออกแบบท่อไอเสียใหม่จึงสำคัญมาก และช่วยให้กราฟแรงม้ามีความเนียนและต่อเนื่องมากขึ้น ซึ่งมันส่งผลให้นักบิดสามารถควบคุมเครื่องยนต์ของตัวรถได้ง่ายขึ้นนั่นเอง

2017-Red-Bull-Honda-CBR1000RR-WSBK_4
ด้านชุดเฟรมเองก็ยังคงอิงพื้นฐานเดิมโรงงาน แต่ทางทีมช่างได้เสริมความแข็งแรงช่วงครึ่งล่างของมันด้วยวัสดุคาร์บอนไฟเบอร์เพื่อให้มันรองรับกับความหนักหน่วงที่เกิดระหว่างการแข่งขันที่มากกว่าการใช้งานปกติ แน่นอนว่าตัวสวิงอาร์มก็ถูกออกแบบให้แข็งแรงกว่าเดิม แต่ก็เบากว่าเดิมในเวลาเดียวกัน

2017-Red-Bull-Honda-CBR1000RR-WSBK_3
ยังไม่หมดแค่นั้น เนื่องจากว่าอีกหนึ่งหัวใจสำคัญของตัวแข่งที่แต่ละทีมจะมองข้ามไม่ได้ก็คือการรีดน้ำหนักตัวรถ ซึ่งในตัวแข่ง CBR1000RR SP2 คันนี้นั้นถูกรีดน้ำหนักจากเดิมที่มีอยู่ราวๆ 195 กิโลกรัม ให้หายไปถึง 27 กิโลกรัมเลยทีเดียว

CBR1000RR Stefan Bradl

CBR1000RR Stefan Bradl

และเพื่อให้ตัวรถสามารถเซ็ทติ้งได้ตรงกับแต่ละสนามการแข่งขันมากขึ้น การจะปรับเซ็ทแค่โช้กหน้า/หลังเพียงอย่างเดียวนั้นย่อมไม่พอ สุดท้ายทางทีมช่างจึงได้มีการออกแบบให้ตัวเฟรมสามารถเซ็ทค่ามุม Rake และระยะ Trail ได้ แม้กระทั่งจุดยึดสวิงอาร์มหลังเองก็สามารถปรับตั้งได้ เพื่อเซ็ทในส่วนของความสูง/ต่ำ และระยะฐานล้อสั้นยาวตามความต้องการของนักแข่งนั่นเอง

อ่านข่าว Honda เพิ่มเติมได้ที่นี่

เพื่อนๆ Bikers สามารถติดตามข่าวสารวงการล้อ ได้ทางแฟนเพจ MotoRival ของเราครับ

Share.

About Author

error: Content is protected !!