แม้การทดสอบช่วงแรกของศึก MotoGP 2021 จะจบลงไปแล้วตั้งแต่เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา แต่ประเด็ฯเกี่ยวกับตัวแข่งสเปคใหม่สำหรับการแข่งขันปีหน้าก็ยังคงเป็นที่น่าสนใจอยู่ ดังนั้นในวันนี้เราจึงขอพาเพื่อนๆมาดูกันสักหน่อยดีกว่าครับว่า แต่ละทีม จะมีการปรับเปลี่ยนตัวแข่งไปในทิศทางใดบ้าง
Honda RC213V
– Marc Marquez/Takaaki Nakagami เน้นการทดสอบชุดแฟริ่งใหม่เป็นหลัก ตั้งแต่แรมแอร์ด้านหน้าแบบใหม่, วิงเล็ทใหม่ (ซึ่งเป็นวิงเล็ทที่เคยทดสอบมาตั้งแต่ปี 2018 และเป็นวิงเล็ทที่คล้ายกับของ Yamaha)
– ทดสอบท่อไอเสียแบบใหม่ มีขนาดปลายใหญ่กว่าเดิม เมื่อเทียบกับตัวรถปี 2021
– ทดสอบเฟรมใหม่ ไม่มีการเสริมความแข็งแรงด้วยแผ่นคาร์บอน แต่มีการเพิ่มขนาดเฟรมกลางให้หนาขึ้นแทน
– Pol Espagarro ทดสอบสวิงอาร์มอลูมิเนียม ที่ให้ตัวได้มากกว่าสวิงอาร์มคาร์บอน ซึ่งคาดว่าจะช่วยในเรื่องของการสร้างกริปล้อหลังที่ดีกว่าเดิม แต่อาจจะแลกมาซึ่งความมั่นคงและการสะท้อนอาการของล้อหลังมายังผู้ขี่
– Alex Marquez ได้รับสิทธิ์ในการทดสอบจานเบรกใหม่ของ Brembo ที่มีขนาดใหญ่ขึ้นเป็น 360 มิลลิเมตร เพื่อเก็บข้อมูลก่อนมีลุ้นได้ใช้ในการแข่งขันที่ออสเตรีย
Yamaha YZR-M1
– Fanio Quartararo และ Franco Morbidelli เน้นการทดสอบรูปแบบเซ็ทติ้งต่างๆของตัวแข่งในปัจจุบัน เพื่อเก็บข้อมูลอาการรถให้ได้มากที่สุดเป็นหลัก
– ไม่มีการทดสอบตัวรถปี 2022 เนื่องจากทีมทดสอบไม่ได้เข้าร่วมเก็บข้อมูลในครั้งนี้ด้วย จึงทำให้ยังไม่พบชิ้นส่วนใหม่ๆที่พบว่ามีความแตกต่างจากตัวแข่งปีปัจจุบัน
– Maverick Vinales ทดสอบสวิงอาร์มคาร์บอนเป็นครั้งแรก ซึ่งมันทำให้เขาหนักใจมากเลยทีเดียวว่าเขาจะใช้มันแข่งขันจริงดีมั้ย ? (รู้ว่าดี แต่ยังมีข้อเสียอยู่ ?)
– มีแค่เพียง Valentino Rossi ที่ได้รับสิทธิ์ในการทดสอบจานเบรกใหม่ของ Brembo ซึ่งผลจากบทสัมภาษณ์ของเขาก็เป็นที่น่าพอใจ
Ducati Desmosedici GP__
– เน้นการทดสอบเซ็ทติ้งต่างๆของตัวรถสเปคปัจจุบันเพื่อเก็บข้อมูลเอาไว้ใช้ในสนามถัดๆไปเป็นหลักเช่นเดียวกับ Yamaha
– ยังไม่พบการทดสอบชิ้นส่วนใหม่ๆของตัวแข่งในปีหน้าเช่นกัน นอกจากการทดสอบระบบ Holeshot
Suzuki GSX-RR
– เน้นการทดสอบเซ็ทติ้งต่างๆของตัวรถสเปคปัจจุบันเพื่อเก็บข้อมูลเอาไว้ใช้ในสนามถัดๆไปเป็นหลักเช่นเดียวกับ Yamaha และ Ducati
– ไม่มีการรายงานทดสอบชิ้นส่วนใหม่ๆใดๆทั้งสิ้นในตอนนี้
Aprilia RS-GP
– เน้นการทดสอบและเก็บข้อมูลในด้านความทนทานของตัวแข่งสเปคปีปัจจุบันเป็นหลัก (เนื่องจากในหลายๆสนามที่ผ่านมา ตัวแข่งของพวกเขามักพังอย่างไม่ทราบสาเหตุอยู่หลายครั้ง)
KTM RC16
– เน้นการทดสอบชุดแฟริ่งใหม่ ทั้ง แฟริ่งข้างที่มีการเจาะรูช่วงครึ่งหน้าเพื่อลดผลกระทบจากกระแสของอากาศที่ไหลเวียนผ่านตัวรถอย่างฉับพลัน (ตัวรถส่ายน้องลงหากเจอลมตีกระทันหัน อย่างเช่นตอนเหวี่ยงรถออกจากการดูดท้ายคู่แข่ง), ทดสอบวิงเล็ทแบบใหม่
– เฟรมโครงเหล็กใหม่ มีการย้ายจุดยึดเครื่องยนต์ใหม่ให้เข้าสู่จุดศูนย์กลางของตัวรถมากกว่าเดิม (ยังไม่สามรารถยืนยันได้ว่าทำไปเพื่อจุดประสงค์นี้จริงหรือไม่ ?)
– ทดสอบสวิงอาร์มใหม่ ที่ออกแบบมาเพื่อรองรับการติดตั้งชุดกลไกของระบบ Holeshot ที่ดีกว่าเดิม
– ชุดแฟริ่งท้ายปรับใหม่ ออกแบบให้มีตัวปิดครอบใต้ท่อไอเสียมาให้แล้ว หลังจากที่ปล่อยเปลือยมานานหลายปี ทั้งนี้ก็เพื่อให้อากาศไหลเวียนออกจากท้ายรถได้ดียิ่งขึ้น
อ่านข่าว MotoGP อื่นๆได้ที่นี่