ทำไมค่ายรถหรูจับมือ จีน-อินเดีย เบื้องหลังไม่ใช่แค่ค่าแรงถูก

0

ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา หลายคนที่ติดตามข่าวในวงการยานยนต์อย่างใกล้ชิด คงจะเริ่มชินกับการได้เห็นข่าวความร่วมมือระหว่างค่ายรถหรูอย่าง KTM, BMW, Triumph, MV Agusta หรือแม้แต่ Harley-Davidson มาจับมือผลิตรถมอเตอร์ไซค์ร่วมกับค่ายรถที่ชื่อไม่คุ้นหูจากจีนและอินเดียมากขึ้น ซึ่งในบางมุมก็อาจทำให้หลายคนรู้สึกขัดใจที่ค่ายรถที่ตัวเองชอบ ที่วางตลาดแบบพรีเมี่ยมตลอดกลับปล่อยให้ค่ายรถจากไหนก็ไม่รู้มาผลิตรถให้ แต่ทำไมถึงเป็นอย่างนั้น? บอกเลยว่าค่าแรงถูกนั้นไม่ใช่เหตผลทั้งหมดเบื้อหลังเรื่องนี้อย่างแน่นอน

2018 KTM Duke 390

ก่อนเราจะไปเริ่มอธิบายกัน เราต้องขอจำกัดความประเด็นที่เราจะพูดถึงกันก่อน ซึ่งเราจะขอพูดถึงเรื่อง “ทำไมค่ายรถหรูถึงเริ่มจับมือกับค่ายรถจาก จีน-อินเดีย” ไม่ใช่เรื่อง “ทำไมค่ายรถหรูถึงมาเปิดโรงงานในประเทศกำลังพัฒนา” เนื่องจากอย่างหลังนั้นเรารู้อยู่แล้วว่าเป็นเพราะเรื่องค่าแรงที่ถูก ซึ่งค่ายรถต้นทางก็เป็นมักจะเป็นผู้ลงมาควบคุมการผลิตด้วยตัวเอง เป็นเหมือนกับการเปิดโรงงานของตัวเองอีกแห่งนอกบ้านเกิด เช่นเดียวกับที่ค่ายรถหลายรายเข้ามาเปิดโรงงานในประเทศไทย

แต่ในกรณีของความร่วมมือที่เกิดขึ้นกับค่ายรถจาก จีน-อินเดีย นั้นแตกต่างออกไป เนื่องด้วยตลาดของรถมอเตอร์ไซค์คลาสเริ่มต้นกำลังเติบโตอย่างมากในปัจจุบัน และตลาดใหญ่อย่าง จีน-อินเดีย-อาเซียน ก็มีกำลังซื้อมากขึ้นกว่าเมื่อก่อน มันจึงเป็นการตัดสินใจที่ดูมีเหตผลหากค่ายรถหลายรายจะอย่างเข้ามาแย่งส่วนแบ่งตลาดที่เกิดขึ้น ซึ่งการแย่งผู้ซื้อกันตั้งแต่ในคลาสเริ่มต้นนั้นจะช่วยเพิ่มโอกาสที่ผู้ซื้อเหล่านั้นจะหันมาใช้รถค่ายเดิมอีกครั้งในคลาสที่ใหญ่ขึ้น มีราคาแพงมากขึ้น และมีส่วนแบ่งกำไรมากขึ้น

BMW-G310GS-MSP_7_resize

แต่เนื่องจากค่ายจากฝั่งรถยุโรปและอเมริกาหลายรายนั้นไม่เคยผลิตรถมอเตอร์ไซค์คลาสเล็กมาก่อน หรือไม่ก็ห่างหายจากการผลิตรถขนาดเล็กมานานหลายปี ความไร้ประสบการณ์ในรถกลุ่มนี้ทั้งการพัฒนาและการผลิตเป็นจำนวนมาก อาจสร้างความเสียเปรียบได้เมื่อต้องเทียบกับค่ายรถจากฝั่งญี่ปุ่นผลิตรถมอเตอร์ไซค์ทุกคลาสมาตลอด การหาคู่ธุรกิจที่เหมาะสมจึงเกิดขึ้น

หวยก็ไปตกอยู่ที่ค่ายรถจากจีนและอินเดีย เนื่องจากเป็นประเทศที่มีค่ายรถในประเทศอยู่หลายราย ที่ต่างก็มีประสบการณ์ในการผลิตและจำหน่ายรถคลาสเริ่มต้นในราคาถูกอยู่แล้ว ซึ่งประเด็นนี้ไม่ได้จำกัดอยู่แค่เรื่องค่าแรงตั้งต้นที่ถูกเพียงเท่านั้น แต่รวมถึงวิธีบริหารจัดการไลน์ผลิตแบบปริมาณมาก และการหาซัพพลายเออร์คุณภาพดีมีมาตรฐานที่มีราคาถูกด้วย

Review-CF-Moto-250-NK_22

ซึ่งค่ายรถเหล่านี้ต่างก็ไม่มีมอเตอร์ไซค์คลาสใหญ่ หรือมอเตอร์ไซค์ในตลาดพรีเมี่ยมเป็นของตัวเอง แถมหลายค่ายก็แทบไม่ได้ทำตลาดนอกประเทศตัวเองมาก่อน นั่นจึงแปลว่าแต่ละบริษัทที่ตกลงร่วมมือกันนั้นจะไม่เป็นคู่แข่งกันเอง และหลายครั้งความร่วมมือนั้นก็ไม่ใช่แค่การจ้างผลิต แต่รวมถึงการร่วมมือกันตั้งแต่ขั้นตอนการพัฒนารถ

เพราะการพัฒนารถไม่ว่าจะคลาสเล็กหรือคลาสใหญ่ ต่างก็ใช้งบประมาณไม่ต่างกันมากนัก การได้ผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์เฉพาะด้านมาช่วยจก็จะทำให้การพัฒนารถราบรื่นมากขึ้น แลกกับการที่ค่ายรถพรีเมี่ยมจากยุโรปและอเมริกาจะแบ่งปันเทคโนโลยีและองค์ความรู้ในการผลิตรถคลาสใหญ่กับคู่ธุรกิจของตัวเอง

อ่านข่าวสารมอเตอร์ไซค์ล่าสุดได้ที่นี่

Share.

About Author

error: Content is protected !!