Honda จดสิทธิบัตร CBR1000RR เสริม “แฟริ่งหน้าหัก-หุบเองได้” หวังลดพื้นที่สร้างแรงกดหน้าตัวรถ

0

ยังคงตามติดกันอย่างต่อเนื่องสำหรับสิทธิบัตรเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่ืวิศวกรตั้งใจออกแบบไว้สำหรับ Honda CBR1000RR รุ่นถัดไป โดยหลังจากที่ก่อนหน้านี้เราได้นำเสนอ “ชิ้นแฟริ่งแบบมีระบบมอเตอร์สั่นได้” ที่ทำขึ้นมาเพื่อลดแรงกดที่ล้อหน้าของลมจังหวะเลี้ยวโค้งไปแล้ว มาตอนนี้เราก็จะนำเสนอสิทธิบัตรอีกใบที่พวกเขาคิดขึ้นมาด้วยจุดประสงค์เดียวกันอย่าง “ชิ้นแฟริ่งหน้าแบบหักตัวได้” บ้าง

honda-breaking-nose-patent-cbr1000rr-01
และอย่างที่เราได้เคยอธิบายไปในบทความก่อนหน้านี้ว่า แม้แรงกดที่ล้อหน้าจะจำเป็นเมื่อรถเปิดคันเร่งออกสู่ทางตรง แต่ในทางโค้งแรงกดที่เกิดขึ้นดังกล่าวนั้น ก็จะสามารถกดล้อจนไถลออกไปจากโค้งได้เช่นกัน ดังนั้นนอกจากวิธีการ “ใส่มอเตอร์เข้าไปเพื่อสั่นแฟริ่งหน้ารถให้รบกวนทิศทางการไหลเวียนของลม” แล้ว “การลดพื้นที่ของแฟริ่งด้านหน้าลงด้วยวิธีหักจมูกของรถ” เอาไว้จึงเป็นอีกหนึ่งแนวคิดที่วิศวกรของ Honda มองว่าน่าสนใจเช่นกัน

2018-honda-cbr1000rr-winglet-01
ส่วนวิธีการควบคุมระบบว่าเมื่อไหร่กันแน่ ? จมูกของรถถึงควรจะหักลง ทาง Honda ก็แค่ใช้วธีดึงข้อมูลองศาการเลี้ยวจากเซนเซอร์ IMU ที่มีมาให้ตั้งแต่ CBR1000RR โฉมปัจจุบัน (ที่ยังขายอยู่ในบ้านเรา) ไปใช้เพื่อบ่งบอกสถานการเลี้ยวของตัวรถก็เท่านั้น

สิทธิบัตรแฟริ่งสั่นหน้าได้ด้วยการฝังมอเตอร์ไฟฟ้าไว้ด้านในที่เรานำเสนอไปเมื่อวันก่อน

สิทธิบัตรแฟริ่งสั่นหน้าได้ด้วยการฝังมอเตอร์ไฟฟ้าไว้ด้านในที่เรานำเสนอไปเมื่อวันก่อน

อย่างไรก็ดี ถึงแม้ว่าหากมองโดยผิวเผิน “วิธีการหักจมูกของรถ” อาจจะช่วยลดแรงกดช่วงหน้าตัวรถได้ดีกว่า “วิธีสั่นแฟริ่งหน้า” แต่ก็สามารถใช้ได้แค่สำหรับกรณีที่รถไม่ได้มีปากท่อ Ram-Air อยู่ตรงกลางเท่านั้น ซึ่งผิดกับที่เป็นอยู่ใน CBR1000RR-R ณ ขณะนี้ และถ้ากล่าวถึงความสวยงามแล้ว เราขอเลือกวิธีหลังดีกว่าครับ หรือเพื่อนๆอยากให้ Honda CBR1000RR โฉมถัด(ๆ)ไปสามารถหักดั้งหักจมูกตัวเองได้มากกว่าก็ลองแสดงความเห็นกันเข้ามาได้เลย

ขอบคุณข้อมุลจาก Bikesocial

อ่านข่าว Honda เพิ่มเติมได้ที่นี่

เพื่อนๆ Bikers สามารถติดตามข่าวสารวงการล้อ ได้ทางแฟนเพจ MotoRival ของเราครับ

Share.

About Author

error: Content is protected !!