MotoGP เตรียมแบน “เชื้อเพลิงฟอสซิล” ในปี 2027

0

ขณะที่ใครหลายๆคนกำลังกังวลว่าสเน่ห์สำคัญของการแข่งขัน MotoGP อย่าง “เสียงอันกระหึ่มจากเครื่องยนต์” จะหายไปหรือไม่ ? เพราะตัวแข่งพลังงานไฟฟ้าคงถูกนำมาแทนที่ในสักวัน แต่ล่าสุดทางผู้จัดและคณะกรรมการ กลับเริ่มแสดงความเคลื่อนไหว และออกกติกาใหม่ที่ช่วยให้ เครื่องยนต์สันดาปภายใน ยังเป็นขุมกำลังหลักให้กับตัวแข่งมอเตอร์ไซค์ชิงแชมป์โลกต่อไปอีกนาน นั่นคือการออกกฏบังคับให้ผู้ผลิตหันไปใช้น้ำมันเชื้อเพลิงสังเคราะห์ที่ปล่อยมลพิษน้อยลงภายในกรอบเวลาอีกไม่กี่ปีข้างหน้านี้

Repsol Honda MotoGP 2021
ใช่ครับ สำหรับกติกา หรืออันที่จริงคือแผนงานล่าสุด ที่ทางคณะกรรมการและผู้จัดการแข่งขัน MotoGP ประกาศออกมา ก็คือการประกาศให้ ภายในปี 2024 น้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้ในการแข่งขัน MotoGP ก็จะต้องมีปริมาณส่วนผสมของน้ำมันเชื้อเพลิงสังเคราะห์ ที่ถูกผลิตขึ้นจากวัตถุดิบหรือสารชีวมวลอย่างน้อย 40% และหลังจากนั้นในปี 2027 พวกเขาก็จะบังคับให้ตัวแข่งทุกคันต้องใช้น้ำมันเชื้อเพลิงสังเคราะห์ 100% เท่านั้น หรือว่าง่ายๆก็คือ จะเป็นการแบน “ห้ามใช้น้ำมันเชื้อเพลิงจากแหล่งฟอสซิล หรือ น้ำมันปิโตรเลียม” อย่างเด็ดขาดภายในช่วงเวลาราวๆ 5 ปี ข้างหน้านับจากนี้นั้นเอง

ducati-v4-granturismo-multistrada-engine-02
แน่นอน สาเหตุที่เป็นเช่นนั้น ก็ไม่ใช่เพราะเรื่องอื่นใด นอกไปเสียจาก ความพยายามในการต่ออายุให้กับ “ขุมกำลังเครื่องยนต์สันดาปภายใน” ให้สามารถคงอยู่ต่อไปในอนาคต โดยไม่ต้องกังวลเรื่องการปล่อยมลพิษที่เกิดขึ้นจากการเผาไหม้น้ำมันเชื้อเพลิงจากแหล่งปิโตรเลียมเหมือนในปัจจุบัน ซึ่งหากความร่วมมือระหว่างผู้ผลิตรถมอเตอร์ไซค์และผู้ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงในการแข่งขัน MotoGP ทำได้สำเร็จ มันก็ย่อมมีผลถึงรถมอเตอร์ไซค์ หรืออันที่จริงคือยานพาหนะที่ใช้ขุมกำลังเครื่องยนต์สันดาปภายในทุกประเภทสำหรับผู้ใช้ทั่วไปอย่างเราๆในอนาคตด้วย เนื่องจากน้ำมันเชื้อเพลิงสังเคราะห์ที่ใช้กับตัวแข่งเลห่านั้น ก็จะถูกนำมาต่อยอดสำหรับใช้ร่วมกับยานพาหนะต่างๆที่พวกเราใช้ในชีวิตประจำวันต่อไปนั่นเอง

Yamaha YZR-M1
โดยส่วนหนึ่งที่ทำให้หลายภาคส่วน ยังคงให้ความสำคัญกับเครื่องยนต์สันดาปภายใน ไม่หันไปพัฒนายานพาหนะไฟฟ้าเต็มกำลังเสียทั้งหมด ส่วนหนึ่งก็ไม่ใช่แค่เพราะเรื่องธุรกิจเท่านั้น แต่ยังคงเป็นเรื่องของสเน่ห์และมนขลังที่ได้จากความเป็นเครื่องยนต์สันดาปภายใน ไม่เพียงเท่านั้น ปัจจัยสำคัญก็คือ ตัวยานพาหนะไฟฟ้าเอง แม้จะมีการพัฒนามานานหลายปี แต่ตอนนี้มันก็ยังไม่สามารถแก้ปัญหาในเรื่องระยะทางการใช้งาน และความหนาแน่นของพลังงานต่อน้ำหนักได้ ซึ่งเราก็ต้องมาดูกันต่อไปว่า ระหว่างการแก้ปัญหาดังกล่าวของยานพาหนะที่ใช้พลังงานไฟฟ้า กับทำยานพาหนะที่ใช้เครื่องยนต์สันดาปภายในให้ปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ ฝ่ายไหนจะพัฒนาได้ไวกว่ากัน ?

อ่านข่าว MotoGP เพิ่มเติมได้ที่นี่

Share.

About Author

error: Content is protected !!