จานเบรกคาร์บอน MotoGP มีกี่แบบ แบบไหน เหมาะกับใช้งานอย่างไร มาชมกัน

0

จานเบรกคาร์บอน ถือเป็นจานเบรกประสิทธิภาพสูงที่คนทั่วไปอย่างเราไม่ค่อยได้เห็นบนถนนทั่วไปมากนัก สาเหตุหลักๆเลยก็คือราคาที่สูงจนแทบประเมินค่าไม่ได้ ในขณะที่ระยะเวลาการใช้งานก็สั้น นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นอีกมากมายซึ่งเราจะขออธิบายให้เพื่อนๆได้รับทราบกันโดยอ้างอิงจากคลิปของทาง MotoGP ที่เพื่อนๆกับได้รับชมอยู่ตอนนี้

2016-Honda-RC213V-Dani-Pedrosa-11
และด้วยความที่คลิปดังกล่าวเป็นของทางผู้จัด MotoGP ทำให้ข้อมูลของตัวจานเบรกจะอ้างอิงจากฃุดจานที่ใช้ในการแข่งขัน ซึ่งโดยปกติแล้วจะมีให้เลือกอยู่ทั้งหมด 2 รัศมีหน้ากว้าง และอีก 2 ความหนาจานเบรก รวมเป็น 4 แบบด้วยกัน ซึ่งเราจะไล่รายเอียดตามคลิปดังนี้

motogp-carbon-brake-disc-Cover
1. แบบมาตรฐาน ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 320 มม.(น้ำหนัก 850 กรัม)
2. แบบ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง  320 มม. แต่เพิ่มความกว้างตัวจานเบรกให้มากขึ้น ซึ่งเพิ่มพื้นที่ผิวขึ้นจากเดิมอีก 80% (น้ำหนักรวมเพิ่มเป็น 1,000 กรัม)
3. แบบ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง  340 มม. ซึ่งใหญ่ที่สุดแล้วตามกฏการแข่งขัน โดยจานเบรกนี้จะเพิ่มพื้นที่ผิวสัมผัสขึ้นอีก 5% จากจานเบรกอันก่อนหน้านีั แต่มีน้ำหนักรวมเท่ากันคือ 1,000 กรัม
4. แบบ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง  340 มม. แต่เพิ่มความกว้างตัวจานเบรกให้มากขึ้น (คล้ายกับแบบที่ 2) ทำให้ผิวสัมผัสเพิ่มขึ้นจากแบบที่ 3 อีก 35% หรือถ้าเทียบจากแบบแรกก็คือ ราวๆ 146% จากจานแบบแรกเลยทีเดียว (ส่วนน้ำหนักก็เพิ่มขึ้นเยอะเช่นกันคือแตะ 1,200 กรัม)

motogp-carbon-brake-disc-explain-03
ต่อมาก็คือช่วงการทำงานจริงๆของจานเบรกคาร์บอน ซึ่งเราเชื่อว่าเพื่อนๆหลายคนต่างก็รู้กันอยู่แล้วว่า จานเบรกชนิดนี้ต้องเลี้ยงอุณหภูมิของตัวมันเองให้สูงมากๆไว้ก่อนถึงจะสามารถทำงาน (หนึบ) ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ และในคลิปก็ได้เขียนบอกไว้อย่างชัดเจนแล้วว่าจานเบรกชนิดนี้ต้องเลี้ยงอุณหภูมิไว้ให้สูงถึง 200 องศาเซลเซียส ถึงจะทำงานได้ แต่ก็ต้องไม่เลี้ยงอุณหภูมิไว้จนเกิน 800 องศาเซลเซียส เพราะไม่งั้นก็จะเกิดอาการเบรกไหม้ หรือเสื่อมไวก่อนจบการแข่งขัน (ส่วนแถบสีแดงเล็กที่ขึ้นไว้นั้นคือช่วงอุณหภูมิที่เหมาะสมในการใช้เบรกคาร์บอนจริงๆ ซึ่งจะอยู่ที่ราวๆ 300-500 องศาเซลเซียส)

motogp-carbon-brake-disc-explain-04
ในขณะที่ภาพต่อมาคือ ภาพแสดงคุณสมบัติการถ่ายเทความร้อนของจานเบรกแบบต่างๆที่เราได้เกริ่นไว้ก่อนหน้านี้ โดยเริ่มจากแบบที่ 1 ซึ่งถือเป็นจานเบรกที่สามารถถึงจุดอุณหภูมิที่เหมาะสมแก่การทำงานได้ไวกว่าใครเพื่อน ทำให้ไม่ต้องเสียเวลามากมายนักไปกับการเลี้ยงเบรกให้พร้อมก่อนการใช้งาน แต่ข้อเสียก็คือตัวเบรกสามารถคลายความร้อนได้เร็ว และถ้าใช้งานหนักเกินไปก็จะยิ่งเสื่อมเร็วยิ่งขึ้น เพราะมันพร้อมที่จะขยับอุณหภูมิตัวเองให้สูงขึ้นจนทะลุขีดจำกัดได้อย่างง่ายดาย นั่นจึงเหมาะแก่ แทร็คที่ใช้เบรกไม่หนักมาก (และความเกี่ยวเนื่องเหล่านี้ก็จะแปรผกผันตามลำดับจานเบรก 1-4 ในภาพครับ)

สำหรับสนาม Twin Ring Motegi ที่เพิ่งผ่านพ้นการแข่งขันมา ในสนามนี้ถือเป็นสนามเดียวที่ทาง FIM อนุญาตให้ใช้จานเบรกขนาด 340 มม. เนื่องจากเป็นสนามที่มีต้องใช้เบรกอย่างหนักหน่วงถึง 5 จุด ด้วยกัน

ชมคลิป VDO อื่นเพิ่มเติมได้ที่นี่
อ่านข่าว MotoGP เพิ่มเติมได้ที่นี่

เพื่อนๆ Bikers สามารถติดตามข่าวสารวงการล้อ ได้ทางแฟนเพจ MotoRival ของเราครับ

Share.

About Author

error: Content is protected !!