แม้ว่าจะเหลือเวลาอีกนานกว่าที่การแข่งขัน MotoGP จะเริ่มเปิดฤดูกาล แต่เพื่อไม่ให้เพื่อนๆหลงลืมมันไปซะก่อน เรามาพูดถึงสิ่งที่เพื่อนๆหลายคนอยากรู้กันมาโดยตลอดนั่นก็คือ ระยะเวลา(ระยะทาง)ในการใช้งานของชิ้นส่วนตัวแข่ง MotoGP ซึ่งแต่ละชิ้นส่วนหลักๆจะถูกเปลี่ยนเมื่อถูกใช้งานไปได้เท่าไหร่นั้น เรามาดูกันเลยดีกว่าครับ
1. น้ำมันเครื่อง และน้ำหล่อเย็น ทุกๆ 350 กิโลเมตร
2. โซ่ขับเคลื่อน ทุกๆ 500 กิโลเมตร
3. เฟืองสเตอร์, ชุดแผ่นคลัทช์*, แผ่นเหล็กคลัทช์*, จานเบรก, และผ้าเบรก ทุกๆ 1,000 กิโลเมตร (* หรือทุกครั้งที่มีการซ้อมออกตัว)
5. เครื่องยนต์ ทุกๆ 2,000 กิโลเมตร
6. ชุดแผงคอ, แฮนด์บาร์, และชุดเบาะนั่ง (รวมแฟริ่งด้านท้ายและซับเฟรม) ทุกๆ 4,000 กิโลเมตร
7. ชุดเฟรม ทุกๆ 5,000 กิโลเมตร
โดยสาเหตุที่ทำให้ชิ้นส่วนของตัวแข่ง MotoGP แต่ละคันมีอายุการใช้งานต่ำกว่ารถมอเตอร์ไซค์ที่เราใช้งานจริงในชีวิตประจำวันก็เป็นเพราะว่า ในการถูกใช้งานกว่า 500 กิโลเมตร(โดยเฉลี่ย)ต่อหนึ่งสัปดาห์การแข่งขันนั้น ชิ้นส่วนต่างๆที่เรากล่าวถึงอยู่นี้จะต้องรับภาระที่เกิดขึ้นสูงมาก ประกอบกับเมื่อขิ้นส่วนพวกนี้ถูกออกแบบมาให้เบาที่สุดเท่าที่ทำได้ จึงทำให้ความแข็งแรง/ทนทานของมันย่อมด้อยกว่าชิ้นส่วน(วัสดุเดียวกัน)ที่เราคุ้นชิน ดังนั้นอัตราการเสื่อมของชิ้นส่วนเหล่านี้จึงสูงกว่าตัวรถที่ใช้งานในชีวิตประจำวันพอสมควรนั่นเอง
ขอบคุณข้อมูลจาก MotoGP
อ่านข่าวสาร MotoGP เพิ่มเติมได้ที่นี่
เพื่อนๆ Bikers สามารถติดตามข่าวสารวงการล้อ ได้ทางแฟนเพจ MotoRival ของเราครับ