หากพูดถึงการเซ็ทอัพระบบกันสะเทือน สิ่งแรกๆที่เพื่อนมักจะนึกถึงกันก่อนเลยก็คือ การปรับค่าความแข็ง/อ่อนของสปริง ซึ่งนี่ถือว่ายังเปนแค่จุดเริ่มต้นหรืออาจจะเป็นจุดๆเดียวเท่านั้นที่เราพอจะปรับตั้งได้จากสปริงเดิมๆติดรถของเรา
แต่ถ้าหากเพื่อนๆเลือกขยับไปเล่นพวกโช้กแต่งขึ้นมาแล้วล่ะก็ สิ่งที่เพื่อนๆจะได้ยินเพิ่มขึ้นมาอีกก็คือ ค่ารีบาวน์ ที่ใช้ตั้งความไวในการคืนตัวของโช้ก และ ค่าคอมเพรสชั่น หรือก็คือค่าที่ใช้ตั้งความไวในการยุบตัวของโช้ก ซึ่งเราจะขออธิบายกันในบทความนี้โดยอ้างอิงจากคลิปของทาง MotoGP ที่เพื่อนๆกำลังเห็นในตอนนี้ว่าผลจากการปรับค่าต่างๆที่มากเกินไปหรือน้อยเกินไปนั้นจะเป็นอย่างไรกันบ้าง มาเริ่มกันเลยครับ
(ในคลิปนี้จะเป็นการอธิบายถึงตัวโช้กหลังเท่านั้นนะครับ ยังไม่รวมถึงโช้กหน้าที่จะให้ผลต่างออกไปอีกนิดนึง ซึ่งเราคาดว่าทาง MotoGP จะปล่อยออกมาในภายหลัง)
เริ่มจากเรื่องแรกนั่นก็คือการเซ็ทค่าความแข็งของสปริงซึ่งเราก็จะแบ่งได้เป็นสองแบบนั่นก็คือ แข็ง และ อ่อน
โดยถ้าหากเราเซ็ทสปริงให้แข็งเกินไปนั้น สิ่งที่จะเกิดขึ้นกับตัวรถตอนขับขี่ก็คือ สปริงจะไม่สามารถซับแรงกระเทือนที่เกิดขึ้นได้หมดจด และส่งแรงทุกอย่างที่เกิดขึ้นไปกระทำกับยางแทน จนสุดท้ายยางก็จะหมดไวกว่าปกติเพราะการกระเด้งกระดอนของตัวรถจนเกิดจังหวะแรงกระทำไม่สมดุลกับหน้ายาง
ในขณะที่ถ้าหากว่าเพื่อนๆเซ็ทสปริงไว้อ่อนเกินไป สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ แม้ว่าตัวสปริงจะสามารถซับแรงกระเทือนได้หมด แต่น้ำหนักของทั้งตัวผู้ขับและตัวรถจะตกลงมาที่ล้อหลังมากเกินไป ซึ่งแน่นอนว่าหน้ายางก็จะหมดไวขึ้นอีกเช่นกัน
มาที่การปรับค่า รีบาวน์ และ คอมเพรสชั่น กันบ้าง ซึ่งเราได้กล่าวไปแล้วว่าการปรับค่าทั้งสองอย่างนี้จะหมายถึงการปรับความไวของการยืดยุบของโช้ค โดยหลักการทำงานตัวปรับค่าดังกล่าวนี้ ถ้าจะให้อธิบายง่ายๆก็ก็อ ปรับขนาดรูวาล์วน้ำมันด้านในของตัวกระบอกโช้กให้กว้างแคบตามแต่ผู้ใช้จะต้องการ
โดยถ้าหากว่าเราปรับค่าทั้งรีบาวน์และคอมเพรสชั่นให้ไวเกินไป (รูน้ำมันกว้างจนน้ำมันสามารถถ่ายเทไปมาภายในกระบอกได้สะดวกเกิน) สิ่งที่จะเกิดขึ้นโดยพื้นฐานก็คล้ายๆกับตอนตั้งสปริงอ่อน แต่อาการที่เพิ่มขึ้นมาก็คือจังหวะการขึ้นลงจะไม่เสถียรหรือเกิดอาการย้วยขึ้นๆลงๆ จนเกิดอาการท้ายดีด
ข้ามมาที่การปรับค่าทั้งรีบาวน์และคอมเพรสชั่นให้หนืด (ปรับรู้น้ำมันแคบ) จนแทบไม่ยุบคืนตัวกันบ้าง ใช่ครับสิ่งที่เกิดขึ้นก็ค่อนข้างคล้ายกับตอนสปริงแข็งอีกเช่นกัน นั่นก็คือตัวรถจะไม่สามารถซับแรงตอนออกโค้งได้ และกระเด้งกระดอนไปมา หรือถ้ายุบไปแล้ว ตัวรถก็จะไม่ยอมคืนตัวและจมอยู่อย่างนั้นไม่ยอมดีดตัวออกจากโค้ง
เป็นอย่างไรกันบ้างครับ สำหรับคำอธิบายเกี่ยวกับการเซ็ทค่าต่างๆเหล่านี้ ช่วยเพื่อนๆให้เข้าใจมันได้มากขึ้นมั้ยครับ ์ถ้ายังก็คอมเมนท์เข้ามากันได้เลยครับผม
ชมคลิป VDO อื่นเพิ่มเติมได้ที่นี่
อ่านข่าว MotoGP เพิ่มเติมได้ที่นี่
เพื่อนๆ Bikers สามารถติดตามข่าวสารวงการล้อ ได้ทางแฟนเพจ MotoRival ของเราครับ