ในทุกๆปี ผู้ใช้รถจำเป็นที่จะต้องซื้อ พ.ร.บ. หรือ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ หรืออันที่จริงก็คือประกันอุบัติเหตุ สำหรับผู้ใช้ยานพาหนะ ที่ต้องซื้อแบบภาคบังคับก่อนเสมอเนื่องจากเป็นสิ่งที่รถทุกคันต้องมี มิเช่นนั้นจะชำระภาษีประจำปี/ต่อทะเบียนยานพาหนะคันนั้นๆไม่ได้ และมีความผิดตามกฏหมาย ซึ่งการต่อ พ.ร.บ. ต้องใช้เอกสารอะไร ทำอย่างไรบ้าง เรามาว่ากันเลยครับ
1. ก่อนอื่น การต่อ พรบ. จำเป็นที่จะต้องใช้เอกสารในการต่อดังนี้– สำเนาทะเบียนบ้าน : 1 ชุด
– สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน : 1 ชุด
– เล่มทะเบียนรถ หรือ สำเนาทะเบียนรถ (กรณียังอยู่ในระหว่างการเช่าซื้อ หรือ เข้าไฟแนนซ์อยู่) : 1 ชุด
– กรณีที่รถมอเตอร์ไซค์มีอายุเกิน 5 ปีขึ้นไป เพื่อนๆจำเป็นที่จะต้องนำรถของตนไปตรวจสภาพที่ สถานตรวจสภาพรถเอกชน หรือ ตรอ. ก่อน เพื่อนำหลักฐานการตรวจสภาพมาใช้ยืนยันสภาพของรถว่าพร้อมใช้งาน ไม่มีข้อบกพร่องที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อตนเองและผู้อื่น มิเช่นนั้นจะ ต่อ พรบ. ไม่ได้
2. สำหรับค่าบริการ การต่อ พรบ. จะคิดอัตราตามความจุเครื่องยนต์ของรถมอเตอร์ไซค์ที่เพ่ื่อนๆใช้อยู่ (สามารถดูได้ที่เล่มทะเบียน) ซึ่งจะแบ่งไว้ดังนี้
– รถจักรยานยนต์ขนาดเครื่องยนต์ไม่เกิน 75cc : 161.57 บาท
– รถจักรยานยนต์ขนาดเครื่องยนต์เกิน 75cc – 125cc : 323.14 บาท
– รถจักรยานยนต์ขนาดเครื่องยนต์เกิน 125cc – 150cc : 430.14 บาท
– รถจักรยานยนต์ขนาดเครื่องยนต์เกิน 150cc ขึ้นไป : 645.21 บาท
– รถจักรยานยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า : 323.14 บาท
3. หลังจากนั้น ในขั้นตอนของการซื้อกรมธรรม์ อันที่จริงๆเพื่อนๆสามารถเดินทางไปขอซื้อได้จากตัวแทนประภันภัยในหลายสถานที่ ไม่ว่าจะเป็นที่ สถานตรวจสภาพรถเอกชน ที่เพื่อนๆนำรถไปตรวจสภาพเลยก็มี, ร้านสะดวกซื้อ 7-11 (เคาน์เตอร์เซอร์วิสต์), หรือทางเว็บไซต์ออนไลน์ที่มีอยู่มากมายในตอนนี้ ซึ่งขั้นตอนการซื้อก็มีเพียงแค่นำเอกสารต่างๆที่เตรียมเอาไว้ และเงินสำหรับชำระค่ากรมธรรม์ ยื่นให้กับตัวแทนที่เข้าไปติดต่อ เพียงเท่านั้น
โดยหลังจากที่เพื่อนๆชำระค่ากรมธรรม์เรียบร้อยแล้ว เพื่อนๆจะได้รับเอกสารเป็นสลิป หรือกระดาษ A4 ที่ใช้รับรองการมีประกันภัยกลับมา ซึ่งเพื่อนๆจำเป็นที่จะต้องเก็บหลักฐานนี้ไว้เพื่อใช้ในการยื่นชำระค่าภาษี หรือต่อทะเบียนรถต่อไป
*อย่างไรก็ดีการต่อ พรบ. ส่วนใหญ่ทางกรมขนส่งฯ จะเปิดให้ผู้ใช้ยานพาหนะสามารถซื้อกรมธรรม์พร้อมกับการชำระภาษีได้เลย ไม่ว่าจะเป็นจะที่ตัวกรมขนส่งฯเอง หรือผ่านทางระบบออนไลน์ (แต่ระบบออนไลน์จะทำได้เฉพาะกับรถจักรยานยนที่อายุไม่เกิน 5 ปี เท่านั้น)
อ่าน Tips Trick เพิ่มเติมที่นี่