ป้ายทะเบียนรถ(License Plate หรือ Vehicle Registration Plate หรือ Number Plate) คือป้ายที่ทำจากวัสดุโลหะ ที่จัดทำขึ้นโดยกรมขนส่งของรัฐบาลแต่ละประเทศ และนำไปติดไว้กับยานพาหนะแต่ละคันที่ได้รับการขึ้นทะเบียน เพื่อให้ง่ายต่อการระบุตัวของของยานพาหนะ และเจ้าของยานพาหนะดังกล่าว ช่วยให้ง่ายต่อการควบคุม ติดตาม และจัดการภาษี แต่รู้หรือไม่ว่าป้ายทะเบียนรถมีที่มาอย่างไร? โดยเราจะพูดถึงป้ายทะเบียนรถในภาพรวม ไม่ได้กำหนดเจาะจงว่าต้องมาจากรถมอเตอร์ไซค์เท่านั้น
การใช้ป้ายทะเบียนรถครั้งแรกในโลกนั้นเกิดขึ้นในประเทศฝรั่งเศสโดย กรมตำรวจกรุงปารีส ในปี 1893 ก่อนที่ประเทศอื่นในยุโรปอย่างเยอรมันจะเอาอย่างบ้างในปี 1896 ส่วนประเทศแรกในโลกที่มีการนำป้ายทะเบียนมาใช้กับรถของประชาชนทั้วไปคือ เนเธอแลนด์ ในปี 1898 โดยระบุตัวเลขที่เริ่มต้นจากรถหมายเลย 1 แล้วเพิ่มขึ้นตามลำดับของรถที่มาจดทะเบียน แต่ยังไม่มีการระบบตัวอักษรบนป้าย
ในสหรัฐอเมริกามีการบังคับให้ติดป้ายทะเบียนบนรถครั้งแรกในปี 1901 แต่ปัญหาก็เกิด เนื่องจากแต่ละรัฐมีข้อกำหนดทางกฎหมายของตัวเองซึ่งแตกต่างออกไป โดยผู้ใช้ต้องเป็นคนทำป้ายทะเบียนด้วยวัสดุหนังหรือโลหะ ที่มีชื่อย่อของตัวเองติดไว้ที่ท้ายรถ ต่อมารัฐนิวยอร์กเป็นรัฐแรกที่มีการบังคับให้ใช้ป้ายโลหะที่มีตัวอักษรสีดำบนพื้นสีขาวในปี 1903 ส่วนรัฐแมสซาชูเซตส์เป็นรัฐแรก ที่ทำการออกป้ายทะเบียนให้กับผู้ใช้รถอย่างเป็นทางการ
ในประเทศไทยมีข้อกำหนดในการใช้ป้ายทะเบียนเป็นครั้งแรก หลังจากมีการออกกฎหมายรถยนต์ฉบับแรกคือ พระราชบัญญัติรถยนต์ รัตนโกสินทร์ศก 128 (พ.ศ.2452 หรือ ค.ศ.1909) ซึ่งตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 ที่ในแผ่นป้ายจะมีการระบุทั้งตัวอักษรและตัวเลข เพื่อให้ง่ายต่อการระบุตัวของของยานพาหนะ และเจ้าของยานพาหนะดังกล่าว ช่วยให้ง่ายต่อการควบคุม ติดตาม และจัดการเรื่องการเก็บภาษี
ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงข้อกำหนดต่างเกี่ยวกับตัวป้ายทะเบียน และรูปแบบตัวอักษรบนป้ายตามยุคสมัย อย่างในป้ายทะเบียนของรถจักรยานยนต์ยุคแรก ก็มีการติดป้ายไว้ทั้งด้านหน้าและด้านหลังของรถ ซึ่งเราอาจจะเคยเห็นรถโบราณที่ติดป้ายทะเบียนหน้าเป็นแนวขนานกับบังโคลนล้อหน้ากันมาบ้าง ซึ่งก็มีการยกเลิกข้อกำหนดนี้ออกไปในเวลาถัดมา แต่ก็เป็นเรื่องน่้าเสียดายที่กฎหมายบางประเทศ ยังมีการบังคับให้ติดป้ายทะเบียนหน้ารถจักรยานยนต์อยู่ ซึ่งก็ทำให้รูปทรงรถดูไม่สวยขึ้นมาทันที
อ่าน Tips Trick เพิ่มเติมได้ที่นี่