Tips Trick : “จานเบรกคาร์บอน” ดียังไง ? ทำไมไม่มีมอเตอร์ไซค์คันไหนใช้ นอกจาก MotoGP ?

0

“จานเบรกคาร์บอน” ถือเป็นอีกหนึ่งชิ้นส่วนที่สำคัญอย่างมากสำหรับตัวแข่ง MotoGP แต่เชื่อว่ามีหลายคนที่สงสัยไม่น้อยว่าทำไมเหล่านักบิดถึงต้องใช้จานเบรกชนิดนี้แทนจานเบรกเหล็กธรรมดาๆเหมือนกับที่รถมอเตอร์ไซค์ทั่วๆไปใช้กัน ? รวมถึงถ้ามันเบรกได้ดีขนาดนั้น ทำไม่ไม่มีผู้ผลิตรายไหนเอาขจานเบรกแบบนี้ใส่มาให้ในโปรดักชันไบค์ด้วย ? ซึ่่งในวันนี้เราจะมาไขข้อสงสัยดังกล่าวกันครับ

2021-yamaha-yzf-r1-wsbk-pata-003
ก่อนอื่น แม้จานเบรกแบบเหล็กทั่วๆไปที่เราใช้กัน ไม่ว่าจะแบบที่อยู่ในรถมอเตอร์ไซค์ธรรมดา หรือในเหล่าซุปเปอร์ไบค์ จะสามารถสร้างแรงเบรกที่ดีพอแล้วสำหรับการใช้งานในชีวิตประจำวัน แต่ในการแข่งขันรถมอเตอร์ไซค์ระดับ MotoGP ที่มีความเร็วสูง จานเบรกเหล็กธรรมดาๆที่ต้องรับภาระจากการเบรกที่หนักมาก ซ้ำๆในทุกๆครั้งก่อนเข้าโค้ง จนมีอุณภูมิสูงขึ้นแตะหลัก 600-700 องศาองศาเซลเซียสขึ้นมา ซึ่งเกิดขึ้นได้ง่ายมากๆกับตัวแข่งที่เร็วระดับนี้ ผิวสัมผัสของมันเอง ก็จะเริ่มสูญเสียความสามารถในการสร้างแรงเสียดทานกับผ้าเบรกมากขึ้นเรื่อยๆ จึงทำให้ยิ่งใช้งานมากเท่าไหร่ มันก็จะยิ่งเบรกไม่อยู่มากขึ้นเท่านั้น

2021-honda-cbr1000rr-r-sp-wsbk-002
นอกจากนี้เมื่อจานเบรกเหล็กร้อนขึ้น ความกว้างของจานเบรกเอง ก็จะขยายเพิ่มขึ้นเช่นกัน นั่นจึงทำให้ระยะห่างระหว่างผ้าเบรกกับจานเบรกตอนที่นักบิดยังไม่ทันได้กำเบรก ก็จะยิ่งน้อยลงไปอีก ซึ่งในช่วงแรกมันก็อาจจะดีเพราะหมายความว่าผ้าเบรกจะจับขานเบรกได้ไวขึ้น แต่ถ้าจานเบรกขยายตัวมากเกินไปจนมาสัมผัสกับผ้าเบรกตลอดเวลา งานนี้มันก็จะเกิดอาการเบรกฝืดที่ทำให้รถวิ่งได้ช้าลง แล้วอุณภูมิของจานเบรกยิ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็วไปอีก

2020-ducati-panigale-v2-08
หากแค่นั้นยังไม่พอ เมื่อจานเบรกเหล็กร้อนมากๆ มันก็จะเริ่มเสียความสามารถในการรักษาความแข็งแรงของตนเองไป หรือว่าง่ายๆคือเริ่มอ่อนตัว จนเกิดอาการจานเบรกคดไปง่ายๆ ซึ่งเมื่อเป็นเช่นนั้น การควบคุมแรงเบรกของนักบิดก็จะยิ่งยากขึ้นไปอีก เพราะคาลิปเปอร์เบรกจะส่งแรงกระเทือนจากหน้าสัมผัสจานเบรกที่เป็นลอนคลื่นกลับมายังก้านเบรก ทำให้ก้านเบรกสั่นทุกครั้งที่นักบิดกดเบรกลงไป ซึ่งทุกอาการที่เราไล่เรียงมาจะเกิดขึ้นในช่วงเวลาไล่เลี่ยกันอย่างรวดเร็วมากเมื่อใดก็ตามที่จานเบรกมีอุณหภูมิแตะหลัก 600-700 องศาเซลเซียส

Brembo_MotoGP 2014_Special_1202
ดังนั้นเพื่อแก้ปัญหาเหล่านั้น ทางผู้ผลิตจึงตัดสินใจ นำวัสดุประเภทคาร์บอน-เซรามิค มาใช้ทำจานเบรก ซึ่งข้อดีของมันก็คือสามารถทนกับความร้อนที่สะสมขณะใช้งานได้มากขึ้นกว่าจานเบรกเหล็กธรรมดาๆ ทำให้มีอัตราการขยายตัวน้อยกว่าจานเบรกเหล็กค่อนข้างมาก แม้จะมีอุณหภูมิแตะหลัก 1,000 องศาเซลเซียส ดังนั้นโอกาสที่จานเบรกจะเสียรูปจนคดเมื่อถูกใช้งานหนักๆจึงน้อยลงมากๆ แถมยังไม่ก่อแรงเสียดทานที่ไม่จำเป็นกับผ้าเบรกในจังหวะที่นักบิดไม่ได้กำเบรกอีกด้วย

motogp-carbon-brake-disc-explain-03
ไม่เพียงเท่านั้น มันจานเบรกคาร์บอน-เซรามิคยังสามารถสร้างแรงเสียดทานกับผ้าเบรกได้มากกว่าจานเบรกเหล็ก หรือว่าง่ายๆก็คือช่วยหยุดชะลอรถได้ดีขึ้น เมื่อถึงอุณหภูมิใช้งาน นั่นคือช่วง 200-800 องศาเซลเซียส แถมน้ำหนักของจานเบรกชนิดนี้ยังน้อยกว่าจานเบรกเหล็กแบบดั้งเดิม ช่วยให้น้ำหนักใต้โช้กน้อยลง ส่งผลให้การพลิกเลี้ยวตัวรถมีความฉับไว้ยิ่งขึ้นอีกด้วย

motogp-brembo-carbon-disc-004
อย่างไรก็ดี สาเหตุที่จานเบรกคาร์บอน ไม่เหมาะที่จะนำมาใช้กับรถมอเตอร์ไซค์ทั่วๆไปที่ออกแบบให้เน้นการใช้งานในชีวิตประจำวันก็เป็นเพราะว่า หากผู้ใช้ไม่วอร์มจานเบรกจนถึงอุณหภูมิใช้งาน จานเบรกชนิดนี้จะแทบไม่มีแรงเสียดทานใดๆกับผ้าเบรกเลย ชนิดที่ว่ากดก้านเบรกไป มันก็ไม่ฝืดเพื่อหยุดชะลอรถให้ ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว สำหรับการใช้งานในชีวิตประจำวัน เราไม่มีทางที่จะเบรกหนักถี่ๆจนจานเบรกร้อนแตะระดับ 200 องศาได้ง่ายๆอยู่แล้ว

Brembo_F1 2014_Special_0617
นอกจากนี้ อายุการใช้งานของจานเบรกคาร์บอน ยังถือว่าน้อยกว่าจานเบรกเหล็กค่อนข้างมาก อาจจะเหลือแค่เพียง 1 ใน 10 จากเดิมเท่านั้น และที่สำคัญที่สุดคือต้นทุนในการผลิตค่อนข้างสูง ถึงสูงมากๆ ดังนั้นการนำมาติดตั้งในรถมอเตอร์ไซค์ทั่วๆไปที่ต้องคำนวนในเรื่องของราคาและความคุ้มค่าในสายตาลูกค้าจึงไม่เหมาะสมอย่างยิ่งยวดนั่นเอง

ขอบคุณภาพจาก Brembo
ขอบคุณข้อมูลจาก MotoGP

อ่าน Tips Trick เพิ่มเติมที่ได้ที่นี่

Share.

About Author

error: Content is protected !!